top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

After Action Review (AAR) กระบวนการเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2564

Highlights

  • After Action Review (AAR) คือ กระบวนการที่มีไว้สำหรับการพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่จะต้องดำเนินต่อไปในอนาคต โดยการวิเคราะห์ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในช่วงเวลานั้น มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ทำไมสิ่งเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น

  • การใช้เวลาในการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการ AAR ช่วยทำให้องค์กรสามารถสร้างองค์ความรู้ของตัวเองได้

  • ในระยะเริ่มต้น จำนวนคนที่เหมาะสำหรับการดำเนินกระบวนการ AAR คือ 8-15 คน ในเวลา 20-40 นาที

 

การพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรภายในองค์กรเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อที่จะให้องค์กรสามารถปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงได้ แต่การพัฒนาองค์ความรู้นี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการให้พนักงานไปเข้าอบรม หรือเรียนเพิ่มเติมเพียงอย่างเดียว


กระบวนการที่เรียกว่า After Action Review (AAR) เป็นกระบวนการที่ได้รับการพัฒนามาทำให้แต่ละคนในองค์กรสามารถสร้างองค์ความรู้ร่วมกันได้จากประสบการณ์หลังจากการทำงานหรือในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนเกิดเป็นองค์ความรู้ภายในองค์กรที่องค์กรอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้



เนื้อหาในบทความ


After Action Review (AAR) คืออะไร?

After Action Review (AAR) คือ กระบวนการที่ถูกจัดขึ้นเพื่อวิเคราะห์ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ทำไมมันจึงเกิดขึ้น และการพัฒนาสิ่งเหล่านั้นต่อไปในอนาคต อาจเรียกว่าเป็นกระบวนการ de-brief หลังจากเสร็จสิ้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้


โดยมากมักจะเกิดขึ้นกับงานในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ หรือ โปรเจค แต่กระบวนการนี้ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเกิดขึ้นหลังจากการจบงาน หรือโปรเจคด้วยเช่นกันเช่น AAR ในช่วงครึ่งปี


นอกจากนี้คุณภาพของการสื่อสารในกระบวนการ After Action Review (AAR) จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับการอภิปราย(discussion) และสุนทรียสนทนา(dialogue) ร่วมกันมากกว่าการโต้เถียงกัน(debate)


ความแตกต่างระหว่างกระบวนการ After Action Review (AAR) กับ การสะท้อนตัวเอง (Self-Reflection)

หลายคนอาจสับสนระหว่างกระบวนการ After Action Review (AAR) กับการสะท้อนตัวเอง (self-reflection) โดยที่ทั้งสองสิ่งนั้นจะแตกต่างกันตรงที่

  • กระบวนการ After Action Review (AAR) จะให้ความสำคัญกับสิ่งภายนอก หรือการพัฒนาภายนอกที่เกิดขึ้นมากกว่าการเรียนรู้ภายในที่เกิดขึ้น

  • การสะท้อนตัวเอง (self-reflection) มักจะให้คุณค่ากับสิ่งภายในเช่นอารมณ์ ความรู้สึก เป้าหมายส่วนตัว


แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถพูดถึงสิ่งเหล่านั้นได้ ในกระบวนการ AAR คุณยังคงสามารถเล่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ได้


ทำไมองค์กรจึงไม่เกิดการเรียนรู้?

ทุกคนรู้ว่าส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นจากบุคลากรภายในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายองค์กรไม่มีวัฒนธรรมการทำงานที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ เพราะไม่มีกระบวนการใดๆ เพื่อให้บุคลากรได้ใช้เวลาเพื่อที่จะสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง


ขณะที่ทำงาน มนุษย์จะต้องใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีในตัวเองไปกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอาจได้ผลดีกับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ (muscle memory) ที่เกี่ยวข้องกับงานทักษะที่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อเช่น นักดนตรี แต่อาจจะไม่ได้ช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงระบบความคิด การวิเคราะห์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการให้เวลาหยุดเพื่อทบทวนและจัดสรรค์องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการ AAR จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่สามารถทำให้เราเกิดการเรียนรู้ได้


สำหรับในชีวิตประจำวันเราต้องอาศัยการสะท้อนตัวเองเพื่อที่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต สิ่งที่เกิดขึ้นกับงาน หรือการเรียนรู้ต่างๆ เป็นระยะๆ เพื่อที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่ในองค์กรหรือชุมชนที่อาศัยการเรียนรู้ร่วมกัน การใช้เวลาหลังจากจบงานเพื่อที่จะแบ่งปันสิ่งที่แต่ละคนได้เรียนรู้ คือกระบวนการเรียนรู้ขององค์กร ซึ่งจะสร้างองค์ความรู้และทำให้เกิดการพัฒนาตัวเองได้


นอกจากนี้การให้เวลาเพื่อทบทวนกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากงานจบไม่จำเป็นต้องเกิดกับงานที่ล้มเหลวเพียงอย่างเดียว เพราะหลายองค์กรมักจะจัดการประเมินและศึกษาความล้มเหลวของโปรเจคที่ไม่ประสบความสำเร็จเพื่อหาเหตุผล แท้จริงแล้วในทุกๆ งานที่ประสบความสำเร็จ เราสามารถค้นหาจุดแข็ง จุดที่ดี และข้อได้เปรียบต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เพื่อเป็นการเรียนรู้ได้ด้วย



After Action Review (AAR) มีที่มาจากไหน?

กระบวนการ After Action Review (AAR) มีจุดเริ่มต้นจากหน่วยหนึ่งในกองทัพของสหรัฐอเมริกา (OPFOR) ที่มีสมาชิกกว่า 2,500 คน ซึ่งทหารกลุ่มนี้ได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยและสอนทักษะการต่อสู้ให้กันและกัน ในเดือนๆ หนึ่งทหารเหล่านี้จะต้องรบกับศัตรูและผู้ก่อการร้ายในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ต่อสู้กับรถถัง เฮลิคอปเตอร์ หรืออาวุธเคมี ซึ่งทหารกลุ่มนี้จะมีกลุ่มทหารที่ผ่านฝึกและเชี่ยวชาญกว่ามาแชร์ประสบการให้ และแน่นอนว่าทหารกลุ่มนี้เป็นทหารที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้สูงมาก


กระบวนการที่ทหารกลุ่มนี้ใช้และนำไปสู่ความสำเร็จคือ กระบวนการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ที่เรียกว่า After Action Review (AAR) นั่นเอง หลังจากนั้นกระบวนการนี้จึงเป็นที่รู้จัก จนในปี ค.ศ. 1998 เริ่มได้รับการเผยแพร่ต่อไปในองค์กรภาคธุรกิจเช่น Colgate-Palmolive, DTE Energy, Harley-Davidson จนได้รับการปรับปรุงและพัฒนามาเรื่อยๆ ถึงทุกวันนี้


ประโยชน์จากการใช้กระบวนการ After Action Review (AAR)

After Action Review (AAR) เป็นกระบวนการสำคัญที่ใช้ในการ facilitation ซึ่งทำให้เรารู้ว่าอะไรเกิดขึ้น และทำไมสิ่งเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะช่วยเหลือคนอื่นๆ ในทีม และทำให้หัวหน้าเห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากมุมมองอื่นได้


ตัวอย่างเช่นในการจัดกิจกรรมงานประชุมของโรงเรียนแห่งหนึ่ง หลังจากที่จบกิจกรรมไป เราสามารถใช้กระบวนการ After Action Review เพื่อดูว่าในครั้งถัดไปคุณจะสามารถทำอะไรให้ดีขึ้นได้


นอกจากนั้นแล้ว กระบวนการ After Action Review (AAR) ยังเอื้ออำนวยให้เกิด

ซึ่งจะช่วยทำให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย



วิธีดำเนินกระบวนการ After Action Review (AAR)

ภาพรวมของกระบวนการ After Action Review (AAR) จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ นั่นคือ

โดยคุณสามารถทำตามคำแนะนำต่างๆ ได้ดังนี้


1. การแนะนำและการเริ่มต้นกระบวนการ

ในขั้นตอนนี้คุณควรจะอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ AAR โดยสามารถบอกได้ว่ากระบวนการนี้คือกระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ภายในองค์กร ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์กร พัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้งานมีคุณภาพดีขึ้นในอนาคต ซึ่งนอกจากนี้ยังมีรายละเอียดต่างๆ ที่คุณอาจบอกก็ได้ว่า

  • กระบวนการนี้ไม่ได้นำไปสู่การประเมินผลใดๆ ดังนั้นไม่ต้องกังวลเรื่องความสำเร็จหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

  • เป้าหมายของกระบวนการคือการสร้างการเรียนรู้ให้กับแต่ละคน และการพัฒนาในการทำงานร่วมกัน

  • กระบวนการนี้ไม่ใช่การโต้เถียงกัน(debate) เพื่อที่เอาชนะหรือทำให้ใครรู้สึกด้อยคุณค่า

  • การมีจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงและจุดแข็งที่จะต้องรักษาไว้เป็นเรื่องธรรมดาของการทำงาน

  • ทุกคนสามารถแบ่งปันได้อย่างตรงไปตรงมาว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่กล่าวโทษกัน

  • ในขณะที่ฟังเพื่อนแบ่งปัน เป็นโอาสกาสดีที่เราจะได้ฝึกฝนการฟังอย่างลึกซึ้ง

  • ไม่จำเป็นต้องบอกข้อมูล รายละเอียดทั้งหมด หรือคำตอบให้กับทุกเรื่อง เราสามารถเลือกบางสิ่งที่สำคัญมาเล่าได้

  • กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ดีในการฝึกฝนการสะท้อนตัวเอง (self-reflection) เพื่อนำไปสู่การเติบโตของตัวเอง

คุณอาจค่อยๆ เล่าเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ หากมีโอกาสทำกระบวนการ AAR หลายครั้ง คุณอาจเพิ่มความรู้ต่างๆ ทีละเล็กละน้อยให้ แทนที่จะเล่าให้หมดภายในครั้งเดียว เพราะการฝึกปฏิบัติ AAR ทีละหัวข้อจะช่วยทำให้แต่ละคนค่อยๆ เข้าใจมากขึ้น


นอกจากนี้คุณอาจตั้งกติกาบางอย่างสำหรับการ AAR ด้วย

กฏ กติกา หรือข้อตกลงร่วมกันระหว่าง After Action Review (AAR)

  • ทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน

  • จะไม่มีการกล่าวโทษ ตำหนิกันและกัน

  • ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด

  • ไม่ตัดสินกัน โดยใช้การฟังอย่างลึกซึ้ง เมื่อฟังเพื่อนพูด

  • เปิดกว้างสำหรับความคิดใหม่ๆ

  • สามารถสอบถามกันและกันได้ แต่ห้ามคาดคั้น บังคับใครให้ตอบคำถาม

  • ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานร่วมกัน


2. การสะท้อนการเรียนรู้

หลังจากที่คุณได้แนะนำกระบวนการทั้งหมดไปแล้ว คุณสามารถดำเนินกระบวนการสะท้อนการเรียนรู้ได้ โดยอาจเลือกคำถามเหล่านี้ที่คุณต้องจากสิ่งเหล่านี้

  • ในตอนแรกคุณคาดหวังว่าอะไรจะเกิดขึ้น?

  • สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ คืออะไร?

  • มีอะไรที่เป็นไปด้วยดี อะไรที่ดีเกินความคาดหมาย แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?

  • มีอะไรที่สามารถปรับปรุง หรือพัฒนาเพิ่มเติมได้?

  • อะไรคือสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุขที่สุดในงานนี้?

สำหรับคนที่เป็นกระบวนกรหรือ facilitator คุณอาจทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติมได้

  • ถามว่า "ทำไม" เพื่อที่จะช่วยคนพูดสืบค้นหาราก ที่มาที่ไปของปรากฏการจากเทคนิค 5 whys โดยเฉพาะในกรณีที่คนพูดไม่ได้มีทักษะการสะท้อนตัวเองมากนัก คุณควรจะถามเพื่อที่จะช่วยเหลือให้เขาสามารถเข้าใจและสะท้อนตัวเองได้ดีขึ้น

  • บางครั้งอาจมีบางคนแชร์ประสบการณ์ที่ดี แต่ในเหตุการณ์เดียวกันอาจเป็นสิ่งที่แย่สำหรับบางคน facilitator ควรฟังเสียงจากความรู้สึกทั้งสองด้านนี้

  • หากคนที่เข้าร่วมมีจำนวนเยอะมาก คุณอาจขอตัวแทนจากกลุ่มบางกลุ่ม

  • ควรให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง แม้ว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่คำแนะนำต่างๆ สำหรับการพัฒนามักจะเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

  • คุณอาจให้เวลาผู้เข้าร่วมสัก 2-3 นาที เพื่อที่จะนึกถึงสิ่งต่างๆ ก่อนที่จะให้แต่ละคนได้พูด


3. การจบกระบวนการ

ในขั้นสุดท้าย คือการจบกระบวนการ ในขั้นตอนนี้คุณอาจ

  • สรุปสิ่งที่เป็นจุดแข็งของการทำงานครั้งนี้

  • สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และต้องพัฒนาจากการทำงานครั้งนี้

นอกจากนี้คุณอาจใช้เวลานี้เป็นเวลาที่ดีในการบอกเล่าสิ่งที่ประทับใจ ขอบคุณ หรือขอโทษกันและกัน หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น


จำนวนคนและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเข้าร่วมกระบวนการ AAR

ในการเริ่มต้น จำนวนที่เหมาะสำหรับการดำเนินกระบวนการ AAR คือมีจำนวนผู้เข้าร่วม 8-15 คน ในเวลา 20-40 นาที จำนวนนี้เป็นจำนวนที่พอเหมาะที่ผู้เข้าร่วมทุกคนจะมีโอกาสพูดได้ แต่กระบวนการ AAR ทั้งสามขั้นตอนนี้สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ตั้งแต่ 3 คนจนถึง 200 คนซึ่งรูปแบบอาจเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับเวลาด้วย


หากมีความเชี่ยวชาญแล้วในกระบวนการคุณอาจเพิ่มจำนวนได้ โดยกระบวนการอาจใช้เวลาเพิ่มขึ้น ซึ่งจำนวนที่พอเหมาะอาจอยู่ในระดับ 12-25 คน ภายในเวลา 40-60 นาที


สำหรับผู้เข้าร่วมปริมาณมาก 50-100 คน คุณอาจต้องใช้เวลาถึง 3-4 ชั่วโมงในการดำเนินกระบวนการ AAR และอาจต้องใช้เทคนิคอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อดูความคิดเห็นของทุกคน นอกจากนี้หากจำนวนผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นอาจมีบางคนที่ไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น และจำนวนกระบวนกร (facilitator) ที่ดูแลกิจกรรมก็ต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน



การประยุกต์กระบวนการ After Action Review (AAR) ให้เหมาะกับบริบท

กระบวนการ After Action Review (AAR) เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะใช้กระบวนการนี้หลังจากจบงานแบบโปรเจคแล้ว ยังสามารถเกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้แบบ transformative learning ในบริบทต่างๆ ได้


คุณสามารถใช้กระบวนการนี้เพื่อพัฒนาและทบทวนการเรียนรู้หลังจากจบงานแบบโปรเจค การทำงานร่วมกันเป็นทีม หรือถอดบทเรียนประจำปีได้อีกด้วย


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

Facebook group Banner.jpg
bottom of page