top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

การสะท้อนตนเอง (Self-Reflection) คืออะไร? ส่งผลดีกับเราอย่างไร?

อัปเดตเมื่อ 5 ม.ค. 2565

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ คำว่า self-reflection หรือการสะท้อนตนเอง เป็นคำที่ทุกคนคงจะเคยได้ยินกันมามากขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ในกระบวนการรูปแบบใหม่อย่าง transformative learning ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงจากภายใน


แต่จริงๆ แล้วการสะท้อนตนเอง (self-reflection) คืออะไร? สำคัญอย่างไร? แล้วทำไมมันจึงสามารถนำเราไปสู่ความสุข ประสิทธิภาพการทำงาน หรือการเติบโตในชีวิตของเราได้กันแน่?



เนื้อหาในบทความ


การสะท้อนตนเอง (self-reflection) คืออะไร?

การสะท้อนตนเอง (self-reflection) คือ การกลับมาสังเกตตนเอง วิเคราะห์ตนเอง โดยอาจประยุกต์เข้ากับหลายสิ่งเช่น พฤติกรรมที่ตนเองได้ทำ ความรู้สึกที่ตนเองมี ความคิดที่เกิดขึ้น แรงบันดาลใจ การตัดสินใจที่เกิดขึ้น เป็นต้น


การสะท้อนตนเองจะอาศัยความตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness) ช่วยให้เราสามารถเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น และเป็นไปได้ นอกจากนี้อาจเรียกการสะท้อนตนเอง (self-reflection) ว่า introspection หรือ personal reflection ก็ได้




การสะท้อนตนเอง (self-reflection) ไม่จำกัดว่าจะต้องสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว และเราสามารถทำมันได้กับอดีตที่ผ่านไปแล้ว หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึงด้วยเช่นกัน เราอาจสะท้อนตนเอง (self-reflection) เกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ในโรงเรียน ที่ผ่านมานานแล้ว จนไปถึงสะท้อนตนเองเกี่ยวกับชีวิตในอนาคตที่เราอยากจะให้มันเป็น ก็ได้


การสะท้อนตนเอง (self-reflection) ช่วยเราได้อย่างไร?

ปกติแล้วเราจะใช้ชีวิตไปกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การเรียน หรือการพักผ่อน จนเราไม่มีเวลาที่จะมาใคร่ครวญความเป็นไป สิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือตรวจสอบคุณภาพของมันเลยว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่


การสะท้อนตนเอง (self-reflection) จะช่วยทำให้เราไม่ได้จมอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นอย่างเป็นชุดๆ ลำดับอย่างต่อเนื่อง จนเราไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แต่ก็ทำตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราได้ทำการสะท้อนตนเองเกี่ยวกับเรื่องราวที่ผ่านมา หากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ หรือมีคุณลักษณะที่น่าพอใจ การสะท้อนตนเองจะช่วยทำให้เราสามารถค้นหาสาเหตุ เพื่อที่พัฒนามันต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง



แต่หากสิ่งที่เราทำไม่ได้ เราก็ยังสามารถเรียนรู้จากการสะท้อนตนเองได้อีกเช่นกันเช่น มีอะไรที่เราควรจะปรับปรุงเพิ่มเติม อะไรที่น่าจะพัฒนาได้มากกว่าเดิม เป็นต้น


การสะท้อนตนเอง (self-reflection) เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจความเป็นไปของสิ่งรอบตัวมากขึ้น ไม่เพียงแต่เฉพาะเรื่องงาน แต่กับเรื่องชีวิตส่วนตัว ความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นภายใน หรือการรู้จักและเข้าใจตัวเองในมิติต่างๆ ด้วยเช่นกัน


นอกจากนี้การสะท้อนตนเอง (self-reflection) ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างเช่น

  • ทำให้มองเห็นข้อดีในสถานการณ์ที่เลวร้ายได้

  • ทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น

  • ทำให้เท่าทันกับอคติภายใน

  • ทำให้ตอบสนองต่อผู้อื่นได้ดีมากขึ้น

  • ทำให้มีความสามารถในการสื่อสารมากขึ้น

  • เรียนรู้ได้ดีขึ้น

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เมื่อเราการสะท้อนตนเองได้เป็นประจำแล้ว


เราจะทำการสะท้อนตนเอง (self-reflection) ได้อย่างไร?

การสะท้อนตนเอง (self-reflection) สามารถทำได้โดยหลายวิธีและมีรูปแบบที่แตกต่างกันโดยทั่วไปการทำกิจกรรมเช่น

มักจะอาศัยกระบวนการสะท้อนตัวเองโดยผ่านการตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว


วิธีการสะท้อนตัวเองจะง่ายขึ้นเมื่อเราสะท้อนตัวเองมุมมองต่างๆ เช่น ผ่านปัญญา 3 ฐาน หรือ 3Cs Model นั่นคือ

  • ความคิด: สิ่งที่เกิดขึ้นในรูปแบบของความคิด การวิเคราะห์ ไอเดีย มุมมอง

  • ความรู้สึก: อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

  • ร่างกาย: พฤติกรรม หรือการกระทำ

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราต้องการการสะท้อนตนเองเกี่ยวกับงานที่ได้ทำในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราอาจเข้าไปสำรวจดูว่าเราเป็นอย่างไรบ้างในมิติของความคิด ความรู้สึก และร่างกาย ในกรณีนี้อาจได้คำตอบว่า

  • ความคิด: มีโปรเจคใหม่ๆ เข้ามาตลอดจนทำไม่ทัน

  • ความรู้สึก: สนุกกับงานที่เข้ามาตลอดช่วงที่ผ่านมามาก

  • ร่างกาย: ปวดเมื่อยไหล่เล็กน้อย

ซึ่งคำตอบเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปตามบริบทของสิ่งที่เราต้องการทำการสะท้อนตนเอง (self-reflection) ด้วย


วิธีการเขียนสะท้อนตัวเอง

การเขียนสะท้อนตัวเองอาจเป็นรูปแบบหนึ่งที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตัวเองได้ โดยมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกันออกไปเช่น

  • การเขียนแบบ expressive writing หรือ free writing ที่สามารถระบายความรู้สึก อารมณ์ออกมาได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยเยีวยาบาดแผล ความรู้สึกของตัวเองได้

  • การเขียนบันทึกการเรียนรู้ หรือการเขียนที่มีการสะท้อนตัวเองเช่น Happiness worksheet เพื่อสะท้อนและสร้างความสุขของตัวเองในแต่ละวันได้

โดยที่วิธีการเขียนอาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบเช่นการเขียนแบบ expressive writing อาจสามารถเขียนอย่างอิสระได้ ในขณะที่ Happiness worksheet อาจเขียนตามลักษณะหัวข้อที่ได้วางไว้


วิธีการสะท้อนตัวเองนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเขียนเท่านั้นเช่น


ตัวอย่างคำถามที่เราสามารถใช้เพื่อสะท้อนตนเอง (self-reflection) ได้

สำหรับคนที่อยากลองสะท้อนตนเอง เราอาจถามตนเองเพื่อเป็นแนวทางในการสะท้อนตนเองได้เช่น

  • ฉันให้คุณค่ากับอะไรบ้าง?

  • ความสุขของฉันคืออะไร?

  • ฉันต้องการอะไรมากที่สุดในชีวิต?

  • สิ่งที่ฉันคิดว่าฉันทำได้ดีคืออะไร?

  • อะไรคือสิ่งที่ทำให้ฉันมีแรงในการใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้?


มีคำถามมากมายที่เราสามารถนำมาถามตัวเองได้สำหรับการเริ่มต้นทำ self-reflection โดย Courtney E. Ackerman ผู้แต่งหนังสือ My Pocket Positivity ได้แบ่งปันคำถามที่เป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นสะท้อนตัวเองไว้ดังนี้

  1. ฉันกำลังใช้เวลาอย่างคุ้มค่าอยู่หรือไม่?

  2. ฉันกำลังละเลยหรือเผิกเฉยเรื่องสำคัญบางเรื่องอยู่หรือไม่?

  3. ฉันกำลังมีมุมมองที่ดีและเป็นประโยชน์อยู่หรือไม่?

  4. ฉันกำลังใช้ชีวิตในแบบที่เป็นตัวเองอย่างแท้จริงอยู่หรือไม่?

  5. ฉันตื่นในตอนเช้าและพร้อมที่จะใช้เวลาไปกับวันนั้นหรือไม่?

  6. ฉันคิดเรื่องลบๆ ก่อนที่จะเผลอหลับไปหรือไม่?

  7. ฉันให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ที่มีอยู่หรือไม่?

  8. ฉันดูแลสุขภาพตัวเองได้ดีแล้วหรือไม่?

  9. ฉันอนุญาติให้บางอย่างมาควบคุมตัวเอง ทำให้ตัวเองเกิดความเครียดอยู่หรือไม่?

  10. ฉันได้ทำตามเป้าหมายตามที่ตัวเองตั้งใจไว้หรือไม่?

การสะท้อนตนเอง (self-reflection) จะเกิดขึ้นเมื่อเราใช้เวลาสำรวจ และค่อยๆ ตอบคำถามในลักษณะนี้


เวลาใดที่เราควรจะทำการสะท้อนตนเอง (self-reflection)

ยิ่งเราสะท้อนตัวเองมากเท่าไหร เราจะสามารถพัฒนาทักษะการสะท้อนตนเอง (self-reflection) และการตระหนักรู้ในตัวเอง (self-awareness) ได้มากขึ้น ในการเริ่มต้นคุณอาจค่อยๆ เริ่มจากการสะท้อนตัวเองประจำปี หรือเดือน นอกจากนี้คุณยังสามารถทำมันได้ในช่วงเวลาพิเศษอีกด้วยเช่นวันเกิด หรือแม้แต่วันที่คุณได้รับความสำเร็จ วันที่คุณรู้สึกว่าหลงทางในชีวิต ก็อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีในการกลับมาทำ self-reflection อีกครั้ง


Related Topics


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

Comments


Facebook group Banner.jpg
bottom of page