top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

รู้จักกับสภาวะหมดไฟ (Burnout) คุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือไม่?

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2564

Highlights

  • สภาวะหมดไฟ (Burnout) เป็น สภาวะที่เราเหนื่อยล้า หมดแรง ไม่อยากทำอะไรทั้งร่างกายและจิตใจ

  • สาเหตุของสภาวะหมดไฟอาจเกิดจากการพบกับความเครียดในระดับที่สูงเกินรับไหว หรือเกิดความท่วมท้นในความรู้สึกเป็นระยะเวลานาน

  • สภาวะหมดไฟไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นกับเรื่องงานเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัว ความสัมพันธ์ ชีวิตที่บ้านก็ได้

 

"รู้สึกไม่อยากทำอะไรเลย ไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่อยากยุ่งกับอะไร"


ความรู้สึกเหล่านี้อาจเป็นอาการหนึ่งของสภาวะหมดไฟ เมื่อคุณเจอเรื่องเครียดๆ อย่างต่อเนื่องจนทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย ล้า หรือกังวลเป็นระยะเวลานาน แต่คุณก็ยังฝืน ดั้นด้นทำต่อไป จุดสิ้นสุดของมันอาจเป็นสภาวะหมดไฟ (Burnout) ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณเอง



เนื้อหาในบทความ


คุณกำลังอยู่ในสภาวะหมดไฟอยู่หรือไม่?


คุณกำลังอาจอยู่บนทางที่นำไปสู่อาการหมดไฟ ถ้าหาก...

  • รู้สึกว่าทุกวันเป็นวันที่แย่

  • รู้สึกเหนื่อยมาก เมื่อคิดถึงเรื่องงานหรือชีวิตที่บ้าน สิ่งเหล่านี้ต้องใช้พลังงานมาก

  • เหนื่อยกับอะไรบางอย่างตลอดเวลา

  • ใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานที่เป็นภาระของจิตใจ รู้สึกเซ็งๆ หรือหนักหน่วง

  • รู้สึกราวกับว่าไม่ว่าคุณจะทำอะไรแตกต่างออกไปสักแค่ไหน ก็ไม่มีใครเห็นด้วย หรือยินดีด้วย


สภาวะหมดไฟ (Burnout) คืออะไร?

สภาวะหมดไฟ (burnout) คือ สภาวะของอารมณ์ความรู้สึก, จิตใจ และร่างกาย ที่มีอาการเหนื่อยล้า หมดแรง อันเนื่องมาจากการประสบกับความเครียดระดับสูงเป็นระยะเวลายาวนานเกินไป นอกจากนี้สภาวะหมดไฟ (burnout) อาจเกิดขึ้นเมื่อคุณรู้สึกอะไรบางอย่างเป็นระยะเวลานาน เกิดความรู้สึกท่วมท้นไปด้วยความรู้สึกใดความรู้สึกหนึ่ง รู้สึกหมดพลัง สิ้นหวัง หรือเกิดจากการที่คุณไม่ได้รับอะไรบางอย่างตามที่ตัวเองคาดหวังได้ครั้งแล้วครั้งเล่า


เมื่อความเครียดเริ่มก่อตัว และไม่มีทีท่าว่าจะหายไป คุณก็เริ่มไม่สนใจสิ่งต่างๆ ทีละเล็กทีละน้อย เริ่มหมดแรงบันดาลใจ ไม่มีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ แม้ว่าคุณควรจะต้องทำ หรือมีหน้าที่ต้องทำมันในตอนแรก


สภาวะหมดไฟ (burnout) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง มันดึงพลังงานในตัวคุณให้ลดลง และยังทำให้คุณรู้สึกค่อยๆ แย่ลงไป ด้วยความรู้สึก

  • สิ้นหวัง

  • มีคำถามมากมาย ช่างวิจารณ์

  • รู้สึกผิด

  • ไม่อยากทำอะไร

จนสุดท้ายคุณอาจรู้สึกว่าคุณไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว


ความรู้สึกด้านลบเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในทุกมิติของชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เพื่อน ที่บ้าน หรือเรื่องอะไรก็ตามแต่ นอกจากนี้สภาวะหมดไฟยังอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเช่นการเจ็บป่วยง่ายขึ้นด้วย



สัญญาณและอาการของสภาวะหมดไฟ

คุณอาจสำรวจตัวเองว่ามีสัญญาณที่แสดงถึงอาการหมดไฟ (burnout sign) ใดบ้างทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม


สัญญาณและอาการของสภาวะหมดไฟที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

  • ส่วนใหญ่รู้สึก รู้สึกเหนื่อย ไม่มีแรง

  • มีภูมิคุ้มกันลดลง ป่วยบ่อยขึ้น ง่ายขึ้น

  • ปวดหัวง่ายขึ้น

  • เจ็บปวดกล้ามเนื้อบ่อยขึ้น

  • ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป

  • พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลงไป

สัญญาณและอาการของสภาวะหมดไฟที่เกิดขึ้นกับจิตใจ สภาวะอารมณ์ ความรู้สึก

  • มีความรู้สึกถึงความลังเลสังสัยเกี่ยวกับตัวเอง สงสัยเกี่ยวกับความสามารถตัวเอง หรือรู้สึกถึงความล้มเหลว

  • รู้สึกสิ้นหวัง เหมือนอยู่ติดอยู่กับที่ หรือพ่ายแพ้

  • เคว้งคว้าง เหมือนใช้ชีวิตคนเดียวบนโลก

  • ขาดแรงบันดาลใจ หรือไม่อยากทำอะไร

  • มีเสียงวิจารณ์บ่อยขึ้น ชอบที่จะมองเห็นข้อผิดพลาด

  • ความพอใจลดลง

  • ความรู้สึกถึงความสำเร็จลดลง

สัญญาณและอาการของสภาวะหมดไฟที่เกิดขึ้นกับพฤติกรรม การกระทำ

  • เริ่มออกห่างจากภาระ หรือความรับผิดชอบที่มี

  • อยู่คนเดียว หลีกห่างจากคนอื่น

  • ผัดวันประกันพรุ่งบ่อยขึ้น หรือใช้เวลานานมากขึ้นในการทำอะไรให้เสร็จ

  • หงุดงิดใส่คนอื่น

  • เลื่อนงานบางอย่างออกไป มาสาย หรือกลับเร็วขึ้นกว่าเดิม


ความแตกต่างของสภาวะหมดไฟ (Burnout) กับสภาวะเครียด (Stress)

สภาวะหมดไฟเกิดจากความเครียดที่ไม่มีท่าทีว่าจะลดลง และความเครียดนั้นต้องเป็นความเครียดที่สูงกว่าปกติ ไม่เหมือนกับความเครียดทั่วไป และเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความเครียดนั้นเป็นระยะเวลานานจนเกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ

สภาวะหมดไฟ (Burnout) หรือ สภาวะเครียด (Stress)
สภาวะหมดไฟ (Burnout) หรือ สภาวะเครียด (Stress)

แต่หลายคนที่มีความเครียดอยู่อาจไม่แน่ใจว่าตนเองจะมีสภาวะหมดไฟหรือไม่ และอาจนึกภาพตอนที่ตนเองเผชิญหน้ากับสภาวะหมดไฟไม่ออก เพราะได้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้แรงกดดันอยู่แล้ว เพราะโดยทั่วไปคนที่ทำงานที่มีความเครียดสูง หรือคนที่เครียดได้ง่ายจะสามารถทำสิ่งเหล่านั้นให้อยู่ภายใต้การควบคุมของเขาได้ และทำให้เขารู้สึกดีขึ้นเมื่อเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด


ในขณะที่สภาวะหมดไฟเกิดจากความรู้สึกว่างเปล่า และเหนื่อยล้าทางใจ ไม่มีแรงจูงใจ และอยู่นอกเหนือจากการดูแล คนที่เคยมีประสบการณ์ในสภาวะหมดไฟจะมองไม่เห็นความหวัง หรือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าหากความเครียดมีผลทำให้คุณรับผิดชอบอะไรมากขึ้น สภาวะหมดไฟจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณอยากออกห่างมัน และตรงข้ามกับความเครียดที่เมื่อคุณพบกับมันคุณจะรู้ตัวว่ามีความเครียด ในขณะที่หากคุณอยู่ในสภาวะหมดไฟคุณจะไม่รู้ตัวว่ามันเกิดขึ้นกับคุณ



ลักษณะของสภาวะเครียด (Stress)

  • เกิดความสนใจมากผิดปกติต่อสิ่งนั้น

  • สภาวะทางอารมณ์ที่มีจะเกินกว่าปกติ

  • เกิดความรีบร้อนในการทำเรื่องนั้นๆ

  • การตอบสนองมากกว่าปกติ

  • หมดพลังหรือเหนื่อยจากการทำสิ่งต่างๆ

  • อาจนำไปสู่ความกังวล

  • ส่วนใหญ่มักเกิดผลกระทบทางด้านร่างกาย

  • อาจทำให้เกิดความสูญเสีย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร


ลักษณะของสภาวะหมดไฟ (Burnout)

  • ไม่รู้สึกสนใจในสิ่งต่างๆ

  • ความรู้สึก สภาวะอารมณ์แห้งหายไป (Blunted)

  • เกิดความสิ้นหวัง และการเพิกเฉย

  • การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ลดลง

  • หมดแรงบันดาลใจ ความคิด หรือความหวัง

  • อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า

  • ส่วนใหญ่มักเกิดผลกระทบทางด้านสภาวะอารมณ์

  • อาจทำให้รู้สึกว่าชีวิตไม่ควรค่าที่จะมีอยู่ ไม่มีคุณค่า



สภาวะหมดไฟเป็นสภาวะที่อันตรายและควรได้รับการดูแลไม่แตกต่างจากสภาวะเครียด ดังนั้นการป้องกันตัวเองจากสภาวะหมดไฟ และดูแลระดับความเครียดของตัวเองเป็นเรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญ


ภาวะหมดไฟในที่ทำงาน

การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียดสูงอาจไม่ได้นำไปสู่ภาวะหมดไฟ หากความเครียดนั้นได้รับการดูแลความเครียด แต่หลายครั้งที่ความเครียดเหล่านั้นไม่ได้รับการดูแลมากเพียงพอ และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เอื้ออำนวยให้เกิดภาวะหมดไฟร่วมด้วย


ปัจจัยเสี่ยงที่เอื้ออำนวยให้เกิดภาวะหมดไฟในที่ทำงาน

  1. ระยะเวลา กำหนดการส่งงาน ที่ไม่สมเหตุสมผล พนักงานที่มีเวลาทำงานอย่างเหลือเฟือมีโอกาสหมดไฟในการทำงานน้อยกว่าถึง 70% และพนักงานที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาเช่น พนักงานดับเพลิงจะมีโอากาสมีสภาวะหมดไฟได้มากกว่า

  2. การขาดการสื่อสารและการดูแลจากหัวหน้า พนักงานและบุคลากรที่ได้รับการดูแลโดยผู้จัดการหรือหัวหน้าเป็นอย่างดี มีโอกาสมีประสบการณ์หมดไฟน้อยกว่า 70% เมื่อเทียบกับพนักงานทั่วไป

  3. การไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจน มีเพียง 60% ของพนักงานที่รู้ความคาดหวังของผลลัพธ์ เมื่อความคาดหวังเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป พนักงานอาจมีโอกาสหมดไฟได้สูงขึ้นเพียงแค่ว่าพวกเขาใช้พยายามคิดว่าพวกเขาควรทำอะไร

  4. งานหรือ Workload มากเกินไป หากปริมาณงานมากเกินไปจนพนักงานไม่สามารถจัดการได้ ความรู้สึกท่วนท้นที่เกิดจากการรับมือกับงานจะทำให้พนักงานรู้สึกหมดไฟได้โดยเร็ว

  5. ถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน หนังานที่พบกับการเลือกปฏิบัติระหว่างการทำงานจะมีโอกาสมากกว่า 2.3 เท่าที่จะพบกับการหมดไฟ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังดูแลองค์กรของคุณอยู่ การมีกิจกรรมคลายเครียดในรูปแบบต่างๆ ให้พนักงานได้ทำก็สามารถช่วยให้พนักงานได้รับการพักผ่อนจากการทำงานที่มีความเครียดได้


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

Comentarios


Facebook group Banner.jpg
bottom of page