top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

SMART goal เทคนิคการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2564

Highlights

  • SMART goal เป็นเทคนิคในการตั้งเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น หรือระยะยาวให้มีประสิทธิภาพ และเอื้ออำนวยต่อการวัดผล

  • ลักษณะของ SMART goal คือเป้าหมายที่มีความชี้เฉพาะ สามารถวัดความคืบหน้าได้ สมเหตุสมผล ส่งผลดีและสอดคล้องกับภาพรวมหรือระยะยาว และมีเวลาที่จำกัด

 

ทุกคนคงเคยรู้สึกว่าทำงานเท่าไหรก็ไปไม่ถึงไหน ไม่สำเร็จกันมาบ้าง แม้ว่าคุณอาจได้รับความสำเร็จมาบ้าง หรือรู้สึกว่าเกิดการพัฒนาขึ้นอย่างเล็กน้อยเมื่อทำอะไร แต่สิ่งเหล่านั้นก็อาจไม่สามารถเติมเต็มความสำเร็จ ความภูมิใจของคุณได้


นั่นเป็นที่มาของการมีอยู่ของ SMART goal เพื่อให้เราสามารถตั้งเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเป้าหมายในการทำงาน หรือสามารถนำไปใช้ร่วมกับวิธีการตั้งเป้าหมายในชีวิตของตัวเองก็ได้ด้วยเช่นกัน



SMART goal คืออะไร?

SMART goal คือ framework หรือกรอบอ้างอิงที่ใช้เพื่อตั้งเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยในการตั้งเป้าหมายด้วย SMART goal ไม่ใช่การตั้งเป้าหมายอย่างลอยๆ แต่จะต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย


S - Specific หมายถึง เป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ และมีขอบเขตที่แน่ชัด

M - Measurable หมายถึง สามารถวัดได้ มีหลักฐาน หรือการอ้างอิงได้

A - Achievable หมายถึง เป็นไปได้ สมเหตุสมผล ภายใต้ระยะเวลาและทรัพยากร

R - Relevant หมายถึง สอดคล้องกับเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการในระยะยาว

T - Time-based หมายถึง มีระยะเวลาที่จำกัด


SMART goal เครื่องมือตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
SMART goal เครื่องมือตั้งเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่อาจมีบางที่ซึ่งใช้ definition ของ SMART goal ที่แตกต่างออกไป โดยมีความเป็นไปได้อื่นๆ เช่น


S - simple, sensible, significant

M - meaningful, motivating

A - agreed, attainable

R - reasonable, realistic and resourced, results-based

T - time-limited, time/cost limited, timely, time-sensitive



ซึ่งถัดไปเราจะลองเลือกใช้ SMART goal ที่เป็นประโยชน์และได้รับความนิมยมสำหรับประกอบตัวอย่างการตั้งเป้าหมายด้วยเครื่องมือ SMART goal จาก


S - Specific

M - Measurable

A - Achievable

R - Relevant

T - Time-based


ที่เราได้กล่าวกันไปในส่วนแรกกัน แต่ในการตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับ SMART goal นั้นสามารถทำอย่างไรได้บ้าง


วิธีการใช้งานเทคนิค SMART goal เพื่อตั้งเป้าหมายหรือ Milestone ให้มีคุณภาพ

แนวทางการตั้งเป้าหมายตามเทคนิค SMART goal เบื้องต้นสามารถดูได้ดังนี้


S - Specific จาก SMART goal

S - Specific จาก SMART goal
S - Specific จาก SMART goal

เป้าหมายที่มีความชี้เฉพาะ ชัดเจนมีความสำคัญ ในการทำให้เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ในการค้นหาเป้าหมายที่มีความจำเพาะมากขึ้น เราสามารถใช้หลัก W Questions ได้ ซึ่งสามารถถามเพิ่มได้ดังนี้

  1. ใครเกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้?

  2. อะไรคือส่งที่ต้องทำให้สำเร็จ?

  3. เป้าหมายนี้สามารถทำเสร็จได้ที่ไหนบ้าง?

  4. ช่วงระยะเวลาไหนที่จะสำเร็จเป้าหมายนี้ได้บ้าง?

  5. ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ?



ตัวอย่าง สถานการณ์จำลองว่า นายเอมีน้ำหนัก 80 กิโลกรัมหลังจากที่เขาย้ายที่ทำงานได้เพียง ไม่กี่เดือน เขาต้องการมีหุ่นที่ดีขึ้น และสุขภาพที่ดีขึ้นเลยอยากตั้งเป้าหมายเพื่อลดน้ำหนักตัวเอง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Specific มากขึ้นโดยคิดว่า



1. ใครเกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้?

ตัวเองเกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้ นอกจากนั้นยังมีแฟนซึ่งอยากให้เราหุ่นดีขึ้น กับเพื่อนๆ

2. อะไรคือส่งที่ต้องทำให้สำเร็จ?

ลดน้ำหนักและสร้างมวลกล้ามเนื้อ

3. เป้าหมายนี้สามารถทำเสร็จได้ที่ไหนบ้าง?

บ้าน สวนสาธารณะ และยิม

4. ช่วงระยะเวลาไหนที่จะสำเร็จเป้าหมายนี้ได้บ้าง?

ภายใน 1 ปี ก็สามารถเห็นผลได้

5. ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ?

เพราะแฟนอยากให้หุ่นดีขึ้น นอกจากนั้นยังกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพอีกด้วย


M - Measurable จาก SMART goal

M - Measurable จาก SMART goal
M - Measurable จาก SMART goal

เป้าหมายที่มีคุณภาพต้องสามารถวัดได้อย่างน้อยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การวัดนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แต่หากเป็นสิ่งที่สามารถวัดได้อย่างเฉพาะเจาะจงด้วยเครื่องมือต่างๆ ก็ยิ่งดีเพราะสามารถจับต้องได้มากขึ้น เราสามารถใช้คำถามต่อไปนี้เพื่อค้นหาได้

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป้าหมายสำเร็จแล้ว?

  2. อะไรคือตัวชี้วัดความคืบหน้า?

  3. รูปร่าง ขาด หรือปริมาณของเป้าหมายที่สำเร็จสามารถวัดได้จากอะไรบ้าง?


ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Measurable ได้โดยคิดว่า


1. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป้าหมายสำเร็จแล้ว?

  • ลดปริมาณน้ำหนักของไขมันลงให้เหลือเพียง 6-8% ของน้ำหนักตัว

  • น้ำหนักตัวอยู่ที่ 65 กิโลกรัม

  • น้ำตาล ไขมันเลว ในเลือดอยู่ระดับที่ปกติ

2. อะไรคือตัวชี้วัดความคืบหน้า?

  • เปอร์เซนต์น้ำหนักของไขมันต่อน้ำหนักตัวที่วัดด้วยเครื่องชั่ง

  • น้ำหนักตัวที่ลดลง

3. รูปร่าง ขาด หรือปริมาณของเป้าหมายที่สำเร็จสามารถวัดได้จากอะไรบ้าง?

  • ค่าปริมาณไขมันในร่างกาย

  • ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด

  • กล้ามหน้าท้อง six pack ที่มีอ้างอิงจากในรูปที่ต้องการ

A - Achievable จาก SMART goal

A - Achievable จาก SMART goal
A - Achievable จาก SMART goal

SMART goal ต้องการเป้าหมายที่สามารถเป็นจริงได้ ดังนั้นคุณอาจค่อยๆ ลองนึกดูว่าคุณสามารถทำอะไรบางอย่างเพื่อได้รับมันมาได้แน่นอนหรือไม้่ การดูว่า เป้าหมายนี้สามารถบรรลุได้หรือไม่นั้นสามารถดูได้ด้วยว่ามันเป็นสิ่งที่ challenge เราไหม? หากเรารู้สึกว่ามันง่ายเกินไปก็ควรจะเปลี่ยนเล็กน้อย คุณอาจถามได้ว่า

  1. คุณมีทรัพยากรณ์ หรือความสามารถเพียงพอที่จะไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่ ถ้าหากไม่มีจะสามารถเติมเต็มมันได้อย่างไร?

  2. คุณเคยทำมันสำเร็จมาก่อนหรือไม่?

  3. เป้าหมายที่มีสร้างความท้าทายให้มากเกิน น้อยเกินไป หรือเหมาะสมกับความเป็นจริงหรือไม่?



ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Achievable ได้โดยคิดว่า


1. คุณมีทรัพยากรณ์ หรือความสามารถเพียงพอที่จะไปถึงเป้าหมายได้หรือไม่ ถ้าหากไม่มีจะสามารถเติมเต็มมันได้อย่างไร?

ขาดทั้งความรู้และอุปกรณ์ ดังนั้นจึงตั้งใจจะเข้าฟิตเนสเพื่อให้มีเทรนเนอร์ดูแลเรื่องการออกกำลังกาย ส่วนการรับประทานอาหารเพื่อดูแลสุขภาพนั้นจะศึกษาเอาเอง

2.คุณเคยทำมันสำเร็จมาก่อนหรือไม่?

ไม่เคย

3.เป้าหมายที่มีสร้างความท้าทายให้มากเกิน น้อยเกินไป หรือเหมาะสมกับความเป็นจริงหรือไม่?

สามารถเป็นจริงได้ แต่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างท้าทาย เพราะปกติต้องทำงานที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ และไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย


R - Relevant จาก SMART goal

R - Relevant จาก SMART goal
R - Relevant จาก SMART goal

เพราะการตั้งเป้าหมายแบบฉาบฉวยอาจดีเพียงแค่ในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นการตั้งเป้าหมายที่มีความสัมพันธ์กับ Value หรือเป้าหมายในระยะยาวจะช่วยทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้มีคุณภาพมากกว่า และมีแรงบันดาลใจมากกว่าเป้าหมายแบบสั้นๆ ที่ไม่มีความหมาย คุณอาจถามว่า

  1. เป้าหมายที่ต้องการดีต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อโลกในระยะยาวหรือไม่?

  2. เป้าหมายนั้นตรงกับคุณค่าบางอย่างที่คุณมีหรือองค์กรของคุณมีหรือไม่?

  3. เป้าหมายนั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเป้าหมายที่เกิดขึ้นในระยะยาวของคุณ?

หากเป็นเป้าหมายส่วนตัวก็อาจใช้เป็นคุณค่าส่วนตัว แต่ในกรณีที่เป็นเป้าหมายในองค์กร บริษัท หน่วยงานคุณอาจใช้คำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านั้นแทน



ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Relevant ได้โดยคิดว่า


1. เป้าหมายที่ต้องการดีต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อโลกในระยะยาวหรือไม่?

ดีและไม่ขัดต่ออะไรที่ไม่ควรทำ

2. เป้าหมายนั้นตรงกับคุณค่าบางอย่างที่คุณมีหรือองค์กรของคุณมีหรือไม่?

ในกรณีนี้เป็นคุณค่าของตัวเอง ก็ค่อนข้างตรงเพราะต้องการเป็นคนที่มีวินัยในตัวเอง

3. เป้าหมายนั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเป้าหมายที่เกิดขึ้นในระยะยาวของคุณ?

อยากจะมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข ดังนั้นเป้าหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในระยะยาว


T - Time-based จาก SMART goal

T - Time-based จาก SMART goal
T - Time-based จาก SMART goal

การมีเวลาที่จำกัด หรือระยะเวลาประเมินผลเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะชี้วัดว่าเป้าหมายนี้สำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการตั้งเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตั้งเป้าหมาย โดยที่อาจตอบคำถามเหล่านี้ได้

  1. เป้าหมายนี้มีระยะเวลาที่จำกัดหรือไม่?

  2. เมื่อไหรที่ต้องการให้เป้าหมายนี้สำเร็จ?



ตัวอย่าง จากการประยุกต์เทคนิคการตั้งเป้าหมายแบบ SMART goal ทำให้เขาตั้งเป้าหมายที่ Relevant ได้โดยคิดว่า


1. เป้าหมายนี้มีระยะเวลาที่จำกัดหรือไม่?

จริงๆ ไม่ค่อยจำกัดเพราะว่าจะทำเมื่อไหรก็ได้ แต่จะตั้งระยะเวลาไว้เพื่อทำให้สามารถวัดและเร่งให้ตัวเองทำตามเป้าหมายได้

2. เมื่อไหรที่ต้องการให้เป้าหมายนี้สำเร็จ?

ภายใน 1 ปี โดยจะชั่งน้ำหนักเพื่อวัดน้ำหนักไขมันในร่างกาย วัดปริมาณน้ำตาล และวัดไขมันในเลือด ทุกๆ 4 เดือน เพื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดและปรับปรุงแผน



เมื่อตอบคำถามเหล่านี้ได้ครบ จากเป้าหมายธรรมดาที่มีความล่องลอย ไม่ชัดเจนก็จะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และเอื้ออำนวยต่อการทำตามเป้าหมายมากขึ้น


SMART goal เป็นเครื่องมือที่พบได้มากในกระบวนการ facilitation ซึ่งการทำตามเป้าหมายแบบ SMART goal นั้นจะช่วยให้เราเห็นความชัดเจนของเป้าหมายได้มากขึ้น ไม่เสียเวลาไปกับการทำตามเป้าหมาย แต่ไม่เห็นความคืบหน้าของเป้าหมายทำให้ท้อแท้และหมดแรงในการทำสิ่งต่างๆ ต่อไป



แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

Σχόλια


Facebook group Banner.jpg
bottom of page