Highlights
Introverted thinking (Ti) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ในตัดสินใจ (judging function) ซึ่งจะเป็นการตัดสินใจที่เกิดจากตรรกะ ระบบความคิด การจัดหมวดหมู่ที่เน้นความแม่นยำในการจำแนกสิ่งต่างๆ ออกจากกัน
บุคลิกภาพที่มี Introverted thinking (Ti) เป็นฟังก์ชั่นหลัก (dominant function) ได้แก่ ISTP (ช่างฝีมือ) และ INTP (นักคำนวณ)
Introverted thinking (Ti) เป็นหนึ่งใน cognitive function หรือกระบวนการทำงานภายในของจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและมีทิศทางเข้ามาสู่ภายใน ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาของ Carl Jung และได้รับการพัฒนาจนมาเป็น MBTI หรือ บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบที่จะบ่งบอกกระบวนการทำงานของแต่ละบุคลิกภาพ ส่งผลให้แต่ละคนมีการแสดงออก วิธีการคิด ตัดสินใจ หรือรับรู้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป
การเข้าใจ cognitive function หรือกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นภายในของจิตใจนี้เองที่จะช่วยทำให้เราเข้าใจบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบในเชิงลึก โดยในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments จะช่วยทำให้คุณการเข้าใจกระบวนการทำงานของ cognitive function รู้จักความแตกต่างของคนที่อยู่ในไทป์เดียวกันเอง ปัญหาที่มักจะพบ ลักษณะวิธีการที่เรารับมือกับความเครียด และการพัฒนา cognitive function เพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุขและสมดุลได้
เนื้อหาในบทความ
Introverted Thinking (Ti) คืออะไร?
Introverted thinking (Ti) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ในตัดสินใจ (judging function) ซึ่งจะเป็นการตัดสินใจที่เกิดจากตรรกะ ระบบความคิด การจัดหมวดหมู่ที่เน้นความแม่นยำในการจำแนกสิ่งต่างๆ ออกจากกัน
บุคลิกภาพที่มี Introverted thinking (Ti) เป็นฟังก์ชั่นหลัก (dominant function) มักจะมีกระบวนการทำงานภายในส่วนใหญ่เกิดขึ้นด้วยฟังก์ชั่นนี้ และทำให้ cognitive function นี้เป็นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพ ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Ti เป็น cognitive function แรกได้แก่
บุคลิกภาพที่มี Introverted thinking (Ti) เป็นฟังก์ชั่นผู้ช่วย (auxiliary function) จะมีการใช้งานฟังก์ชั่นนี้ในชีวิตรองลงมา แม้จะไม่เท่ากับฟังก์ชั่นหลัก แต่ cognitive function นี้ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Ti เป็น cognitive function ลำดับสองได้แก่
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Introverted Thinking (Ti) ใน MBTI
Introverted thinking (Ti) เป็นฟังก์ชั่นที่มีหน้าที่ตัดสินใจผ่านระบบตรรกะ การจำแนกหมวดหมู่ที่เกิดขึ้นภายใน โดยมีลักษณะกระบวนการทำงานคือ
ให้ความสนใจกับตรรกะภายใน ซึ่งเป็นกรอบความคิดส่วนตัวที่สร้างขึ้นมาด้วยหลักเหตุผลของตัวเอง
จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อตัดสินใจ โดยในการจัดหมวดหมู่นี้จะเป็นการจัดหมวดหมู่ที่แบ่งได้ว่าข้อมูลต่างๆ อยู่ที่ไหน เพื่อให้วิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ
มองหาความแม้่นยำในการตัดสินใจ ผ่านเกณฑ์ที่เป็นกลาง
ค้นหาความจริงและหลักการที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อนำมาพัฒนาระบบในการจัดหมวดหมู่ และกระบวนการตัดสินใจภายใน
ทำความเข้าใจระบบด้วยการมองหาความสัมพันธ์ระหว่างกันในรูปแบบของตรรกะ เช่น ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ A แล้วจะมีผลลัพธ์ B ตามมา
Cognitive function แบบ Introverted thinking (Ti) นี้มักจะให้ความสำคัญกับความแม่นยำในการจัดหมวดหมู่ ความถูกต้อง ความเท่าเทียมเสมอภาพค่อนข้างมาก ทำให้เขามักจะวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ผ่านการแยกแยะที่เป็นระบบแบบทวิลักษณ์ (Binomial) เช่นถูก-ผิด, ดี-ชั่ว หรือเป็นสมาชิกของกลุ่ม-ไม่เป็นสมาชิกของกลุ่ม
สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive function แบบ Introverted thinking (Ti) คือตัดสินใจที่แม่นยำ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มาจากระบบความคิดส่วนตัวของตัวเองจากการเรียนรู้ภายใน ซึ่งทำให้คนในบุคลิกภาพที่มี Ti โดดเด่นมักจะ
สร้างหลักการ แนวความคิด เพื่อวิเคราะห์สิ่งต่างๆ รอบตัว
จัดหมวดหมู่ระบบความคิดขึ้นภายใน และใช้หมวดหมู่เหล่านั้นแยกแยะ จัดประเภทข้อมูล เพื่อการตัดสินใจ
ปรับเปลี่ยนระบบความคิดภายใน (internal framework) ที่มีอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้รับ และทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เรียนรู้ผ่านการทำความเข้าใจตรรกะเบื้องหลัง ที่มาที่ไป และวิธีการทำงานของสิ่งต่างๆ
อยากรู้ว่าสิ่งต่างๆ ทำงานได้อย่างไร ความจริงคืออะไร
ให้การตั้งคำถามและวิจารณ์เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาระบบความคิด องค์ความรู้ และการตัดสินใจ
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Introverted Thinking (Ti)
การใช้งานฟังก์ชั่น introverted thinking (Ti) มักจะเกิดขึ้นในตอนที่ตัดสินใจ เพราะ Ti เป็น cognitive function ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ (judging function) แต่หลายคนที่มีฟังก์ชั่นนี้โดดเด่นมักจะพัฒนาระบบการตัดสินใจของตัวเองอยู่เสมอในการรับรู้ข้อมูล และพวกเขาก็มักจะพร้อมปรับเปลี่ยนพัฒนาระบบที่อยู่ในใจของเขาหากพบว่ามันมีข้อผิดพลาด ซึ่งตัวอย่างของการใช้งาน introverted thinking (Ti) เช่น
ตอนที่ฉันเลือกซื้อรถยนต์ ฉันตั้งเกณฑ์ในการซื้ออยู่สามอย่างคือราคา ความสบาย และการประหยัดพลังงาน ฉันพยายามหารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามหมวดหมู่สามอย่างนี้
ฉันจะค่อยๆ สร้างระบบวิธีในการตัดสินใจ และปรับปรุงมันเพื่อให้ประสิทธิภาพมันสูงขึ้นเสมอ
ตอนที่จะพูดอะไรออกไป ฉันจะระมัดระวังในการใช้คำศัพท์ เพราะฉันอยากจะมั่นใจว่าคนที่อยู่ข้างหน้าได้เข้าใจสิ่งที่คำนั้นได้อธิบายและสื่อออกมาจริงๆ ไม่ได้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่น ซึ่งอาจทำให้การอธิบายของฉันยืดยาวออกไปมาก
ตอนที่ฉันกำลังคิดอะไรบางอย่าง ฉันมักจะมองมันด้วยมุมมองที่เป็นเหมือนระบบตาราง (grid) หรือตัวกรอง (filter) ที่ทำให้ฉันสามารถรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนในความคิด และแยกแยะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากกันกลับไปกลับมา เพื่อที่จะทำความเข้าใจมันให้ได้มากที่สุด
ฉันใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างจังหวัด วันหนึ่งมีแมลงตัวใหญ่กำลังไต่กำแพง และทำให้ภรรยากรีดร้องออกมาอย่างดัง แต่ฉันกลับคิดและตั้งคำถามในใจว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เห็นมันเป็นแมลงหรือแมง และนึกถึงวิธีการจำแนกสองสิ่งนี้ออกจากกัน
เมื่อไหร่ก็ตามที่ฉันมีหลักการ แนวความคิดดีๆ หรือ framework ดีๆ แล้วมันจะช่วยทำให้ฉันรับมือกับโลกภายนอก สิ่งใหม่ๆ ได้ง่ายดายขึ้นมาก จนกว่าจะมีอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้มันไม่เวิร์คอีกครั้ง ฉันจึงจะกลับมาปรับเปลี่ยนและพัฒนาหลักการเหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Ti ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุกคน และแม้บุคลิกภาพที่มี introverted thinking (Ti) เป็นฟังก์ชั่นหลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจทำให้คนเหล่านั้น
คิดว่าตัวเองเป็นคนที่ฉลาด วิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ดี คนอื่นเป็นคนโง่ ไม่มีเหตุผล
ชอบประชดประชัน เสียดสี ถากถาง ชอบวิจารณ์สิ่งต่างๆ และสนุกกับมัน
คิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ทุกเรื่อง แต่กลับไม่สนใจเรื่องใกล้ตัว ใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริงไม่ได้
หลีกหนีผู้คน ปลีกตัวออกจากสังคม หรือไม่สามารถเข้ากับสังคมได้
ไม่สนใจเรื่องความรู้สึก คิดว่าสิ่งเหล่านั้นไม่จำเป็น ไร้สาระ ไม่มีความรู้สึก
ทำอะไรไปโดยไม่สนใจผลกระทบที่มีกับคนอื่น เพราะมีเหตุผลของตัวเองและคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว
หากคุณยังไม่ทราบบุคลิกภาพของตัวเองหรือยังเคยมีประสบการณ์ตรงในการขึ้น panel เพื่อเห็นความแตกต่างของความถนัดแต่ละแบบ คุณสามารถเข้าร่วมเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันด้วยกระบวนการ panel ได้
สำหรับคนที่ทราบบุคลิกภาพของตัวเองและเห็นความแตกต่างของความถนัดแล้ว คุณสามารถเรียนรู้ cognitive function และลักษณะของไทป์ตัวเองในเชิงลึกได้ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อให้ตัวเองก้าวข้ามกับดักของไทป์ เข้าใจแนวทางในการพัฒนา cognitive function ของตัวเอง และมีชีวิตที่ดีขึ้นได้
Related Topics
แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม
Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.
Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.
Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.
Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.
Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้
Comments