top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

ISTP บุคลิกภาพ ลักษณะเฉพาะตัว และ Cognitive Function

อัปเดตเมื่อ 14 ก.พ. 2565

Highlights

  • ISTP คือ หนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบของ MBTI ที่ชอบวิเคราะห์ แก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว

  • ISTP เป็นคนที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเหตุผลและมักชอบมีโลกส่วนตัว โดยเราสามารถดูแล ISTP ได้ด้วยการอนุญาตให้เขาได้มีเวลาส่วนตัว และอธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล

  • มีฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) เป็น Introverted Thinking และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็น Extraverted Sensing

 

ISTP (Introverted, Sensing, Thinking, Perceiving) เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ หรือ MBTI ที่มักใช้เวลาไปกับการวิเคราะห์ หาเหตุผล แก้ปะัญหาสิ่งต่างๆ ซึ่งโดยมากมักเป็นเรื่องที่ขึ้นรอบตัว อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นช่างฝีมือ


บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบนั้นเกิดจากความถนัดใน 4 องค์ประกอบ (Extraversion/Introversion, Sensing/ Intuition, Thinking/Feeling, Judging/ Perceiving) โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจและสามารถค้นหาบุคลิกภาพของตัวเอง เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันได้


เนื้อหาในบทความ


ISTP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function
ISTP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function

บุคลิกภาพและลักษณะเฉพาะตัวของ ISTP

ISTP ชอบสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวในปัจจุบัน และนำสิ่งเหล่านั้นมาวิเคราะห์ ประมวลผล พวกเขาเป็นนักแก้ปัญหาที่ใช้ข้อมูลที่ได้รับมาทุกอย่างในการตรวจสอบปัญหา และพร้อมที่จะปรับตัวกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าภายนอกเขาจะแสดงออกว่าเป็นคนแบบใด แต่เขามักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ

  • วิเคราะห์ หาทางแก้ไขปัญหา พัฒนาสิ่งต่างๆ

  • มองสิ่งต่างๆ ในเชิงตรรกะ

ISTP เป็นคนที่ใช้เวลาอยู่กับปัจจุบัน เขาชอบเรียนรู้จากสิ่งที่จับต้องได้จริงมากกว่าทฤษฎี นามธรรม เขาจะรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้ดี นอกจากนี้ ISTP ยังเป็นคนที่

  • ให้ความสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียด ข้อมูล

  • อยู่กับความเป็นจริง สิ่งที่จับต้องได้


จุดแข็งของ ISTP

  • การวิเคราะห์เชิงตรรกะ

  • เป็นนักลงมือทำ เรียนรู้ผ่านการลงมือทำได้ดี

  • มองโลกตามความเป็นจริง

จุดอ่อนของ ISTP

  • เข้าถึงตัวยาก

  • ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก

  • เหนื่อยและพลังหมดอย่างรวดเร็ว เมื่อต้องพบปะผู้คนจำนวนมาก


ISTP ในที่ทำงาน

ISTP มักเป็นคนที่อยู่อย่างเงียบๆ ในที่ทำงาน เขามักจะชอบคิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ โดยลำพังมากกว่าการปรึกษาพูดคุยกับคนอื่น บ่อยครั้งเขาอาจมองว่าการประชุมและระดมความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ISTP ชอบความท้าทายและลงมือทำสิ่งต่างๆ มากพอๆ กับการใช้เวลาคิด นอกจากนั้นเขายังสามารถรับมือกับความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีด้วย

  • ISTP มักจะเพิกเฉยความสำคัญของความสัมพันธ์ในที่ทำงานหรือเมื่อต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คน

  • ISTP อาจเก็บความคิด ไอเดีย ต่างๆ ไว้คนเดียว หรือไม่รู้วิธีการที่แสดงมันออกมาอย่างเหมาะสม

เมื่อ ISTP ได้เป็นผู้นำ เขามักจะเป็นผู้นำที่ทำให้ลูกน้องดูเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญของการให้ลูกน้องรู้ระบบ ขั้นตอน แนวทางการทำงาน แล้วชอบให้ลูกน้องมีอิสระในการทำงาน


วิธีการปฏิสัมพันธ์และดูแลคนที่มีบุคลิกภาพ ISTP

ISTP มักจะเป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียว บางครั้งพวกเขามักชอบทำในสิ่งที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้คน เขามักจะถูกมองว่าเป็นคนที่เข้าถึงยากและเข้าใจยากด้วยเช่นกัน เราสามารถดูแล ISTP ได้โดย

  • เคารพความเป็นส่วนตัวของ ISTP

  • ให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนตัวที่เขาพูดออกมาเพราะ ISTP ส่วนใหญ่มักชอบพูดเรื่องส่วนตัวออกมาเพียงครั้งเดียว

  • ไม่ใช้ความรู้สึกในการบังคับ กระตุ้น ให้ ISTP ทำตามคำขอของคุณ


Cognitive Function ของ ISTP

ISTP เป็นผู้ที่มีความถนัดแบบ Introverted, Sensing, Thinking, Perceiving ซึ่งตามทฤษฎีของ Carl Jung แล้ว ทำให้ ISFP มี cognitive function ดังต่อไปนี้

  1. ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Introverted Thinking

  2. ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Extraverted Sensing

  3. ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Introverted Intuition

  4. ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Extraverted Feeling

โดยที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีองค์ประกอบของ cognitive function ที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนก็จะมีการใช้งาน cognitive function ที่ไม่เหมือนกัน ตามบริบทและการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป


แต่ละบุคลิกภาพจะใช้ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็นหลักในชีวิตประจำวัน ส่วนฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function) และฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function) เป็นฟังก์ชั่นที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีเลือกใช้น้อยกว่า ทำให้อาจมีการพัฒนาน้อยกว่าสองฟังก์ชั่นแรก

ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Introverted Thinking

  • ISTP ใช้เวลาส่วนมากไปกับการคิด วิเคราะห์ สิ่งที่อยู่ภายในหัวของพวกเขา

  • ISTP มักจะตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล มีความเป็นกลาง ตามข้อมูลที่มีอยู่

  • ISTP มักจะสร้างระบบการตัดสินใจเพื่อวิเคราะห์และมักจะใช้กระบวนการคิดเชิงตรรกะเป็นหลัก

  • เมื่อ ISTP เรียนรู้อะไร เขามักจะค่อยๆ ปรับความเข้าใจต่อสิ่งนั้นตามระบบตรรกะที่เขาสร้างขึ้นมา

ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Extraverted Sensing

  • คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ISTP มักใช้ฟังก์ชั่น Extraverted Sensing ในการรับรู้ สังเกต สิ่งที่เกิดขึ้น

  • ISTP มักจะชอบใช้เวลาไปกับเรื่องราวที่เกิดขึนในปัจจุบันมากกว่าคาดการณ์อนาคต

  • ISTP ชอบมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือบางคนอาจสนุกกับการไปผจญภัย ทำกิจกรรมเสี่ยง

  • ISTP สามารถวิเคราะห์ทฤษฎี แนวความคิดได้ แต่พวกเขามักจะให้ความสนใจกับสิ่งที่ปฏิบัติได้จริงและจับต้องได้มากกว่า

ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Introverted Intuition

  • ISTP มักจะเห็นความเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ กับทฤษฎีจากการลงมือทำซ้ำๆ หรือเมื่อใช้เวลาไปกับกิจกรรมนั้นเป็นระยะเวลานาน

  • ISTP มักจะมีลางสังหรณ์ในเรื่องที่พวกเขาอยู่ด้วยเป็นเวลานาน

ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Extraverted Feeling

  • ISTP มักจะค่อนข้างเก็บตัว และมีโลกส่วนตัวค่อนข้างสูง

  • ISTP มักจะไม่เข้าใจระบบคุณค่า ประเพณี ค่านิยม ที่คนอื่นให้ความสำคัญ รวมทั้งยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก บ่อยครั้งพบว่า ISTP ไม่ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง


การรู้จักบุคลิกภาพของตัวเองจะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็สามารถเท่าทันจุดอ่อนที่มักจะทำให้เกิดปัญหาในชีวิตเราได้ โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพ 16 แบบ เพื่อค้นหาบุคลิกภาพของคุณ


สำหรับคนที่มีความเข้าใจและทราบบุคลิกภาพที่แท้จริงของตัวเองแล้ว สามารถเรียนรู้การพัฒนาตัวเองตาม Cognitive function ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อเท่าทันตัวเองไม่ให้ติดกับดักของฟังก์ชั่นด้อย พาตัวเองออกจากสภาวะเครียดของบุคลิกภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเป็นอิสระจากจุดด้อยของบุคลิกภาพได้




Related Topics

แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

  • Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.

  • Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.

  • Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.

  • Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

ดู 129,418 ครั้ง0 ความคิดเห็น
Facebook group Banner.jpg
bottom of page