top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

ESFP บุคลิกภาพ ลักษณะเฉพาะตัว และ Cognitive Function

อัปเดตเมื่อ 14 ก.พ. 2565

Highlights

  • ESFP คือ หนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบของ MBTI ที่มีพลังมาก ใส่ใจเรื่องความรู้สึก และชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้คน

  • ESFP เป็นบุคลิกภาพที่เป็นมิตร เข้ากับคนอื่นได้ง่าย สามารถปฏิสัมพันธ์กับ ESFP ได้ด้วยคุยกันด้วยบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการมากเกินไปเมื่ออยู่กับเขา

  • มีฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) เป็น Extraverted Sensing และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็น Introverted Feeling

 

ESFP (Extraverted, Sensing, Feeling, Perceiving) เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ หรือ MBTI ที่มีพลังงานมาก ชอบเข้าสังคม เป็นมิตร ให้ความสำคัญกับผู้คน อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นนักแสดง


บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบนั้นเกิดจากความถนัดใน 4 องค์ประกอบ (Extraversion/Introversion, Sensing/ Intuition, Thinking/Feeling, Judging/ Perceiving) โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจและสามารถค้นหาบุคลิกภาพของตัวเอง เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันได้


เนื้อหาในบทความ


ESFP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function
ESFP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function

บุคลิกภาพและลักษณะเฉพาะตัวของ ESFP

คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ESFP เป็นชอบใช้เวลาอยู่กับปัจจุบัน เขาชอบหาอะไรทำ มีพลังงานมากมายเหลือล้น และชอบประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขามักมองเห็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับผู้คน แต่มักจะไม่ชอบทำกิจกรรมที่มีความจำเจ

  • เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

  • มองโลกตามความป็นจริง ทำในสิ่งที่ปฏิบัติได้

นอกจากนั้น ESFP เป็นคนที่อ่อนโยน รับรู้ความรู้สึกของคนอื่นๆ ได้เร็ว เขาตัดสินใจด้วยการใช้คุณค่าส่วนตัวเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนอื่น

  • เข้าใจความรู้สึกของผู้คน

  • เป็นมิตร มีทักษะทางสังคมที่ดี

ESFP เป็นคนที่รู้จักสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวโดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้คน เขาจะรับรู้ถึงการเปลียนแปลงอย่างรวดเร็ว


จุดแข็งของ ESFP

  • มีพลังงานมากในการทำสิ่งต่างๆ

  • ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

  • เป็นมิตร เข้ากันคนอื่นได้ง่าย

จุดอ่อนของ ESFP

  • ไม่ถนัดในการทำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี

  • อาจไม่ค่อยได้วางแผนก่อนลงมือทำ

  • ไม่ค่อยนึกถึงผลระยะยาว


ESFP ในที่ทำงาน

ESFP เป็นคนที่ร่าเริงและเป็นมิตรมากในที่ทำงาน พวกเขามักจะชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม และใช้เวลาปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และช่วยทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกเป็นมิตร สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ นอกจากนั้นเขายังเป็นคนที่จดจ่อกับรายละเอียดได้ดี และชอบลงมือทำ อยู่กับปัจจุบัน

  • ESFP อาจรู้สึกว่าสามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ ดังนั้นเขาอาจมีงานมากเกินไป จนเกินที่พวกเขาจะสามารถทำได้

  • ESFP ไม่ค่อยถนัดในการคิดสิ่งที่เป็นทฤษฎี ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ หรือนามธรรม

เมื่อ ESFP ได้เป็นผู้นำ เขามักจะเป็นหัวหน้าที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับลูกน้อง เขามักจะสนับสนุนให้ลูกน้องแต่ละคนสามารถทำงานได้เต็มที่ สนิทสนมกับลูกน้อง และไม่ชอบทำให้บรรยากาศการทำงานมันเครียดเกินไป


วิธีการปฏิสัมพันธ์และดูแลคนที่มีบุคลิกภาพ ESFP

คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ESFP เป็นคนที่มีท่าทางเป็นมิตร และเข้าถึงได้ง่าย พวกเขามักจะชอบไปไหนมาไหนกับคนอื่น และเป็นคนที่มีพลังงานค่อนข้างมาก ESFP เป็นคนที่ชอบสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้คน เราสามารถดูแล ESFP ได้โดย

  • พูดตรงๆ และใช้การยกตัวอย่างกับเขา ไม่พูดคุยกับ ESFP ด้วยทฤษฎีที่ซับซ้อน เข้าใจยาก หรือห่างไกลความเป็นจริง

  • ไม่เป็นทางการมากเกินไปเมื่ออยู่ร่วมกับ ESFP

  • หาโอกาสสร้างความประหลาดใจให้กับ ESFP เพราะพวกเขาชอบถูกเซอไพรส์มาก


Cognitive Function ของ ESFP

ESFP เป็นผู้ที่มีความถนัดแบบ Extraverted, Sensing, Feeling, Perceiving ซึ่งตามทฤษฎีของ Carl Jung แล้ว ทำให้ ESFP มี cognitive function ดังต่อไปนี้

โดยที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีองค์ประกอบของ cognitive function ที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนก็จะมีการใช้งาน cognitive function ที่ไม่เหมือนกัน ตามบริบทและการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป


แต่ละบุคลิกภาพจะใช้ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็นหลักในชีวิตประจำวัน ส่วนฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function) และฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function) เป็นฟังก์ชั่นที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีเลือกใช้น้อยกว่า ทำให้อาจมีการพัฒนาน้อยกว่าสองฟังก์ชั่นแรก


ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Extraverted Sensing

  • ESFP ให้ความสนใจกับผู้คน ชอบการใช้ชีวิตที่ได้พบปะเรียนรู้ผู้คน และประสบการณ์ใหม่ๆ

  • ESFP เป็นคนที่เรียนรู้ผ่านการลงมือทำได้ดีกว่าการเรียนรู้จากทฤษฎี

  • ESFP เก่งในเรื่องของการจดจ่อกับปัจจุบัน มากกว่าการใช้ชีวิตไปกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรืออนาคต

  • ESFP ชอบการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่นการมอง การชิม การฟัง การสัมผัส และ ESFP มักจะมีประสาทสัมผัสที่ว่องไวต่อการแยกแยะสิ่งเหล่านี้

  • ESFP ชอบลงมือทำสิ่งต่างๆ โดยทันที ทำให้ ESFP อาจไม่ค่อยใช้เวลาไปกับการวางแผนมากนัก พวกเขาถนัดในการตอบโต้กับสถานการณ์เฉาพาะหน้า

ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Introverted Feeling

  • ESFP เป็นคนที่มีความอ่อนโยน พวกเขาให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้คนค่อนข้างมาก นอกจากนั้น ESFP ยังสามารถสังเกตเห็นถึงความความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงของคนรอบข้างได้ด้วย

  • ESFP ที่ตัดสินใจด้วยการใช้คุณค่าส่วนตัวเป็นหลัก เขาจะลำบากใจหากต้องเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ที่ขัดกับคุณค่าที่เขายึดถือไว้

  • ESFP สามารถเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง และคนอื่นได้เป็นอย่างดี

ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Extraverted Thinking

  • ฟังก์ชั่นนี้จะทำให้ ESFP คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยตรรกะประกอบกับการตัดสินใจสิ่งต่างๆ

  • ESFP มักจะใช้ฟังก์ชั่นนี้ในการทำช่วยทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ

  • ฟังก์ชั่นนี้เป็นฟังก์ชั่นลำดับที่สามของ ESFP ทำให้เขาอาจเป็นคนที่อธิบายสิ่งต่างๆ เชิงตรรกะไม่ค่อยเก่ง

ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Introverted Intuition

  • ESFP มักไม่ค่อยชอบทฤษฎีที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เพราะ Introverted Intuition เป็นฟังก์ชั่นที่พัฒนาน้อยที่สุด

  • ESFP ใช้ฟังก์ชั่นนี้ไปกับการมองหาความเป็นไปได้ และความเชื่อมโยงในอนาคต ซึ่งโดยมากมักจะมีประสบการณ์ที่เขาเคยผ่านมาเป็นพื้นฐาน


การรู้จักบุคลิกภาพของตัวเองจะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็สามารถเท่าทันจุดอ่อนที่มักจะทำให้เกิดปัญหาในชีวิตเราได้ โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพ 16 แบบ เพื่อค้นหาบุคลิกภาพของคุณ


สำหรับคนที่มีความเข้าใจและทราบบุคลิกภาพที่แท้จริงของตัวเองแล้ว สามารถเรียนรู้การพัฒนาตัวเองตาม Cognitive function ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อเท่าทันตัวเองไม่ให้ติดกับดักของฟังก์ชั่นด้อย พาตัวเองออกจากสภาวะเครียดของบุคลิกภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเป็นอิสระจากจุดด้อยของบุคลิกภาพได้





Related Topics


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

  • Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.

  • Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.

  • Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.

  • Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

ดู 82,886 ครั้ง0 ความคิดเห็น
Facebook group Banner.jpg
bottom of page