top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

ISFP บุคลิกภาพ ลักษณะเฉพาะตัว และ Cognitive Function

อัปเดตเมื่อ 14 ก.พ. 2565

Highlights

  • ISFP คือ หนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบของ MBTI ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก รายละเอียด และสิ่งที่เป็นจริง

  • ISFP เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับคุณค่า โดยเราสามารถดูแล ISFP ได้ด้วยให้เวลาพวกเขาตัดสินใจ และให้เวลาเขาอยู่คนเดียวตามที่เขาต้องการ

  • มีฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) เป็น Introverted Feeling และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็น Extraverted Sensing

 

ISFP (Introverted, Sensing, Feeling, Perceiving) เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ หรือ MBTI ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณค่าภายใน อารมณ์ความรู้สึก รายละเอียด และสิ่งที่จับต้องได้ อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นศิลปิน


บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบนั้นเกิดจากความถนัดใน 4 องค์ประกอบ (Extraversion/Introversion, Sensing/ Intuition, Thinking/Feeling, Judging/ Perceiving) โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจและสามารถค้นหาบุคลิกภาพของตัวเอง เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันได้


เนื้อหาในบทความ


ISFP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function
ISFP บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function

บุคลิกภาพและลักษณะเฉพาะตัวของ ISFP

ISFP เป็นคนที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันด้วยความร่าเริงและเบิกบาน เขามักจะชอบอิสระและทำอะไรตามอำเภอใจตนเอง ISFP ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ ความสนิทสนมกับคนอื่นค่อนข้างมาก แต่เขามักจะใช้เวลาในการพัฒนาความสนิทสนมขึ้นอย่างช้าๆ และมักจะเอาใจใส่คนใกล้ชิด คนสำคัญอย่างพิเศษในวิธีของตัวเอง

  • อ่อนไหวต่อความรู้สึก

  • เห็นอกเห็นใจคนอื่น ดูน่าไว้วางใจและเป็นมิตร

ISFP เป็นคนที่ให้ความใส่ใจในรายละเอียดกับที่เกิดขึ้นรอบตัว เขามักจะชอบสิ่งที่เป็นไปได้จริง และเรียนรู้ผ่านการลงมือทำมากกว่าการจินตนาการถึงแนวคิดที่ช่างฝัน และดูจับต้องไม่ได้ในทางปฏิบัติ

  • เห็นรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม

  • มองโลกตามความเป็นจริง


จุดแข็งของ ISFP

  • ซื่อสัตย์ต่อคุณค่า คุณธรรมที่ตนเองให้ความสำคัญ

  • เป็นมิตร ผู้คนรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ด้วย

  • เป็นนักลงมือทำ ลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ ได้ดี

จุดอ่อนของ ISFP

  • การคิดเรื่องนามธรรม ทฤษฎี

  • ไม่สบายใจเมื่ออยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง

  • ต้องการพื้นที่ส่วนตัว


ISFP ในที่ทำงาน

ISFP เป็นคนที่ชอบลงมือทำสิ่งต่างๆ มากกว่าการคิด ระดมไอเดีย หรือวางแฟนในระยะยาว โดยที่สิ่งที่โดดเด่นของ ISFP คือการเข้าใจและช่วยเหลือคนอื่น เมื่อในที่ทำงานมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ISFP จะช่วยเหลือและทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความเข้าใจกันได้โดยง่าย

  • การทำงานที่เป็นนามธรรมมากเกินไปจะทำให้ ISFP เหนื่อยล้าและหมดไฟได้ง่าย

  • ISFP ไม่ชอบที่ทำงานที่มีความขัดแย้ง การโต้เถียง หรือมีท่าทีไม่เป็นมิตร

เมื่อ ISFP ได้เป็นผู้นำ เขามักจะเป็นผู้นำที่สุขุม นุ่มนวล และเน้นการลงมือทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และให้การสนับสนุนลูกน้อง


วิธีการปฏิสัมพันธ์และดูแลคนที่มีบุคลิกภาพ ISFP

ISFP มักจะเป็นคนที่สุภาพ และดูกลมกลืนไปกับผู้คน เขาเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นได้ง่าย สบายๆ เป็นกันเอง แต่ลึกๆ แล้วเขาเป็นคนที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับความรู้สึก และไม่ค่อยชอบเป็นจุดสนใจของคนหมู่มาก เราสามารถดูแล ISFP ได้โดย

  • เข้าใจว่า ISFP ชอบที่จะใช้เวลาอยู่คนเดียว ไม่ควรบังคับให้เขาออกไปทำสิ่งต่างๆ ในที่สาธารณะหากเขาไม่ต้องการ

  • ให้รายละเอียด ISFP มากเท่าที่จำเป็น และชัดเจนมากเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนั้นการเล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่พูดสามารถช่วยให้ ISFP เห็นภาพและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

  • ให้เวลาเขาในการตัดสินใจ

Cognitive Function ของ ISFP

ISFP เป็นผู้ที่มีความถนัดแบบ Introverted, Sensing, Feeling, Perceiving ซึ่งตามทฤษฎีของ Carl Jung แล้ว ทำให้ ISFP มี cognitive function ดังต่อไปนี้

โดยที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีองค์ประกอบของ cognitive function ที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนก็จะมีการใช้งาน cognitive function ที่ไม่เหมือนกัน ตามบริบทและการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป


แต่ละบุคลิกภาพจะใช้ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็นหลักในชีวิตประจำวัน ส่วนฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function) และฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function) เป็นฟังก์ชั่นที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีเลือกใช้น้อยกว่า ทำให้อาจมีการพัฒนาน้อยกว่าสองฟังก์ชั่นแรก

ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Introverted Feeling

  • ISFP ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณค่าส่วนตัวของแต่ละคนมากกว่าการตัดสินใจเชิงตรรกะ

  • ISFP มีระบบคุณค่าและความหมายที่อยู่ภายใน และจะเป็นเรื่องยากมากที่เขาจะต่อต้านคุณค่าที่อยู่ภายในนี้

  • ISFP ยอมรับความเป็นปัจเจกของคนอื่น และเข้าใจคนอื่นเป็นอย่างมาก ตราบเท่าที่มันไม่ไปขัดต่อระบบคุณค่าภายในของพวกเขา

  • ความกลมเกลียวภายในเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับ ISFP

ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Extraverted Sensing

  • คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ISFP มักใช้ฟังก์ชั่น Extraverted Sensing ทำให้เขาเห็นสิ่งต่างๆ อย่างละเอียดและแม่นยำ

  • ISFP มองสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น โดยไม่ได้หานัยเบื้องหลัง ความหมายที่ซ่อนเร้น

  • ISFP ชอบมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจเป็นงานอดิเรก หรือสิ่งที่ทำให้ ISFP มีความสุขได้

  • ISFP ชอบมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งต่างๆ และเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Introverted Intuition

  • ISFP ค่อยๆ เก็บสะสมลางสังหรณ์ องค์ความรู้ หรือสัญชาติญาณเมื่อหาได้ลงมือทำสิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก

  • ISFP ใช้ฟังก์ชั่นนี้ในการหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งโดยมากจะต้องอาศัยเวลาและการลงมือทำก่อน

ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Extraverted Thinking

  • ISFP มักไม่ค่อยสามารถตอบโต้เชิงตรรกะเหตุผลได้ทันที แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เขาเคยมีประสบการณ์ตรงมาแล้วหรือเชี่ยวชาญ นอกจากนั้นบางครั้งเขายังรู้สึกยากลำบากในการอธิบายสิ่งเหล่านั้นออกมา

  • ISFP ไม่ค่อยต้องการทำให้สิ่งต่างๆ มีประสิทธิภาพสูงสุด ตราบเท่าที่มันเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว


การรู้จักบุคลิกภาพของตัวเองจะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็สามารถเท่าทันจุดอ่อนที่มักจะทำให้เกิดปัญหาในชีวิตเราได้ โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพ 16 แบบ เพื่อค้นหาบุคลิกภาพของคุณ


สำหรับคนที่มีความเข้าใจและทราบบุคลิกภาพที่แท้จริงของตัวเองแล้ว สามารถเรียนรู้การพัฒนาตัวเองตาม Cognitive function ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อเท่าทันตัวเองไม่ให้ติดกับดักของฟังก์ชั่นด้อย พาตัวเองออกจากสภาวะเครียดของบุคลิกภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเป็นอิสระจากจุดด้อยของบุคลิกภาพได้




Related Topics


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

  • Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.

  • Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.

  • Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.

  • Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.

  • https://www.verywellmind.com/isfp-introverted-sensing-feeling-perceiving-2795991

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

ดู 199,442 ครั้ง0 ความคิดเห็น
Facebook group Banner.jpg
bottom of page