top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

ESTJ บุคลิกภาพ ลักษณะเฉพาะตัว และ Cognitive Function

อัปเดตเมื่อ 14 ก.พ. 2565

Highlights

  • ESTJ คือ หนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบของ MBTI ที่โดดเด่นทั้งเรื่องการวิเคราะห์ ใช้เหตุผล และในเรื่องการลงมือทำสิ่งต่างๆ

  • ESTJ เป็นคนที่พูดอะไรตรงไปตรงมา ชอบอยู่กับเพื่อนฝูง ทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อน เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับ ESTJ ได้โดยเข้าใจว่าการพูดตรงๆ และท่าทีของเขาเป็นลักษณะส่วนตัวของเขาที่ไม่ได้มีเจตนาทำร้ายความรู้สึกเรา

  • มีฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) เป็น Extraverted Thinking และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็น Introverted Sensing

 

ESTJ (Extraverted, Intuition, Thinking, Judging) เป็นหนึ่งในบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบ หรือ MBTI ที่ชอบคิดวิเคราะห์ พิจารณาเหตุผลของสิ่งต่างๆ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นไปได้ ลงมือทำได้จริง อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นผู้กำกับ


บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบนั้นเกิดจากความถนัดใน 4 องค์ประกอบ (Extraversion/Introversion, Sensing/ Intuition, Thinking/Feeling, Judging/ Perceiving) โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจและสามารถค้นหาบุคลิกภาพของตัวเอง เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันได้


เนื้อหาในบทความ


ESTJ บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function
ESTJ บุคลิกภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน และ Cognitive function

บุคลิกภาพและลักษณะเฉพาะตัวของ ESTJ

คนที่มีบุคลิกภาพแบบ ESTJ เป็นคนที่มีระบบตรรกะและกระบวนการคิดค่อนข้างมาก เขามักจะใช้กระบวนการคิดและวิเคราะห์ในชีวิตประจำวันและทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อต้องตัดสินใจ เขามักจะ

  • วิเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างเป็นกลาง

  • ต้องการความชัดเจน เป็นไปตามตรรกะหรือเกณฑ์

นอกจากนั้น ESTJ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและจับต้องได้มากกว่าจินตนาการ แนวความคิด หรือทฤษฎี เขามักเป็นคนที่มีความมั่นคง ในสถานการณ์ต่างๆ เขามักจะให้คุณค่ากับ

  • สิ่งที่เป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ ปัจจุบัน

  • ประสบการณ์

ESTJ มักจะเป็นคนที่สามารถจัดการะบบของสิ่งต่างๆ ได้ยอดเยี่ยม รวมทั้งการติดต่อพูดคุยกับผู้คน เพราะพวกเขามักจะคิดวิเคราะห์สถานการณ์และทางเลือกต่างๆ ไปพร้อมกับการเปรียบเทียบกับประสบการณ์ในอดีต


จุดแข็งของ ESTJ

  • การวิเคราะห์ เชิงตรรกะ

  • เป็นระบบ มีการจัดการที่ดี

  • ลงมือปฏิบัติและทำสิ่งต่างๆ ได้เก่ง

จุดอ่อนของ ESTJ

  • ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องความรู้สึก คุณค่า อารมณ์

  • บางครั้งอาจเป็นคนที่ดูชอบสั่งการ

  • อาจมีลักษณะท่าทีที่แข็งกร้าว หรือชอบโต้เถียง


ESTJ ในที่ทำงาน

ESTJ เป็นคนที่มีเหตุผล วางแผนจัดการสิ่งต่างๆ และชอบพูดคุยกับผู้คน เขาเป็นเป็นคนที่มุ่งเน้นด้านความมีประสิทธิภาพ ตัดสินใจและลงมือทำสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็ว แต่อาจไม่สามารถรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าหรือความเปลี่ยนแปลงได้ดีมากนัก

  • ESTJ อาจมีท่าทีแข็งกร้าว และไม่สนใจ ห่วงใยเพื่อนร่วมงาน เพราะเขาคิดถึงประสิทธิภาพ และการทำงานให้เสร็จ

  • ESTJ อาจไม่ค่อยฟังลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา และรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ไม่ค่อยดี

ESTJ เป็นหัวหน้าที่เข้าไปดูแลทุกส่วน และมักจะท้าทายลูกน้องให้ไปทำสิ่งต่างๆ ที่ดียิ่งขึ้น เขาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลงมือทำค่อนข้างมาก และต้องการให้ทุกสิ่งมีประสิทธิภาพ


วิธีการปฏิสัมพันธ์และดูแลคนที่มีบุคลิกภาพ ESTJ

ESTJ เป็นคนที่พูดเก่ง และอาจชอบแสดงออกด้วยท่าทางในการพูด แต่พวกเขามักจะไม่ค่อยแสดงออกทางด้านความรู้สึกมากเท่าที่ควร ในบทสนทนาพวกเขามักจะใช้เวลาไปกับตรรกะ เหตุผล หรือบอกเล่าสิ่งต่างๆ มากกว่าการพูดเรื่องความรู้สึก พวกเขาเป็นคนที่ตัดสินใจได้เก่ง และมีท่าทีตรงไปตรงมา เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเขาได้โดย

  • มีบทสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่จับต้องได้ มีการวางแผนลงมือทำสิ่งต่างๆ

  • บอกความต้องการของคุณออกไปตรงๆ ไม่อ้อมค้อม เพราะเขาอาจไม่เข้าใจและไม่ได้คิดถึงการตีความมากนัก

  • เข้าใจว่าท่าทีและการพูดตรงๆ เป็นธรรมชาติของเขา

Cognitive Function ของ ESTJ

ESTJ เป็นผู้ที่มีความถนัดแบบ Extraverted, Sensing, Thinking, Judging ซึ่งตามทฤษฎีของ Carl Jung แล้ว ทำให้ ESTJ มี cognitive function ดังต่อไปนี้

  1. ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Extraverted Intuition

  2. ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Introverted Feeling

โดยที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีองค์ประกอบของ cognitive function ที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนก็จะมีการใช้งาน cognitive function ที่ไม่เหมือนกัน ตามบริบทและการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป


แต่ละบุคลิกภาพจะใช้ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function) และฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function) เป็นหลักในชีวิตประจำวัน ส่วนฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function) และฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function) เป็นฟังก์ชั่นที่แต่ละบุคลิกภาพจะมีเลือกใช้น้อยกว่า ทำให้อาจมีการพัฒนาน้อยกว่าสองฟังก์ชั่นแรก


ฟังก์ชั่นหลัก (Dominant Function): Extraverted Thinking

  • ESTJ ใช้การบวนการตัดสินอย่างเป็นกลาง ในการรับมือกับปัญหาและตัดสินใจ

  • ESTJ ให้ความสำคัญกับเหตุผลในการทำสิ่งต่างๆ มากกว่าการให้ความสำคัญกับรู้สึก อารมณ์

  • ESTJ ให้ความสำคัญกับความมีระบบ และประสิทธิภาพ

  • ESTJ สามารถอธิบายเหตุผลหรือตรรกะได้เป็นอย่างดี และชอบการจัดระเบียบสิ่งรอบตัวด้วย

ฟังก์ชั่นผู้ช่วย (Auxiliary Function): Introverted Sensing

  • ESTJ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่จับต้องได้ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

  • ESTJ มีความทรงจำที่ดี เขาสามารถจดจำรายละเอียดได้ค่อนข้างดี

  • ESTJ ชอบเรียนรู้จากการลงมือทำมากกว่ากว่าการเรียนรู้ทฤษฎี

ฟังก์ชั่นลำดับสาม (Tertiary Function): Extraverted Intuition

  • ฟังก์ชั่นนี้จะทำให้ ESTJ มักจะคิดถึงอนาคตโดยใช้ข้อมูลจากในอดีตและปัจจุบันเป็นหลัก

  • บางครั้ง ESTJ ก็ให้ความสำคัญกับความหมาย การตีความ และรูปแบบของสิ่งที่เห็น

ฟังก์ชั่นด้อย (Inferior Function): Introverted Feeling

  • ESTJ มักไม่ค่อยตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วยอารมณ์ความรู้สึก

  • ESTJ อาจมีปัญหาในการทำความเข้าใจความรู้สึกหรือคุณค่า และพยายามหลีกหนีสิ่งเหล่านั้น


การรู้จักบุคลิกภาพของตัวเองจะช่วยทำให้เราสามารถพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และในขณะเดียวกันก็สามารถเท่าทันจุดอ่อนที่มักจะทำให้เกิดปัญหาในชีวิตเราได้ โดยในเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types จะช่วยทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพ 16 แบบ เพื่อค้นหาบุคลิกภาพของคุณ


สำหรับคนที่มีความเข้าใจและทราบบุคลิกภาพที่แท้จริงของตัวเองแล้ว สามารถเรียนรู้การพัฒนาตัวเองตาม Cognitive function ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อเท่าทันตัวเองไม่ให้ติดกับดักของฟังก์ชั่นด้อย พาตัวเองออกจากสภาวะเครียดของบุคลิกภาพ และมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเป็นอิสระจากจุดด้อยของบุคลิกภาพได้





Related Topics


แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

  • Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.

  • Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.

  • Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.

  • Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.

  • https://www.verywellmind.com/estj-extraverted-sensing-thinking-judging-2795985

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

ดู 51,491 ครั้ง0 ความคิดเห็น
Facebook group Banner.jpg
bottom of page