top of page
  • รูปภาพนักเขียนUrbinner

8 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนจะไปพบนักจิตวิทยาครั้งแรก

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2564

หากคุณเป็นคนหนึ่งไม่เคยมีประสบการณ์พบกับนักจิตวิทยามาก่อน คุณอาจรู้สึกตื่นเต้นกับการพบกับนักจิตวิทยาในครั้งแรกและกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างการพบนักจิตวิทยา ขอให้คุณสบายใจได้ว่ายังมีอีกหลายคนที่เป็นเหมือนคุณ


ในบทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าพบนักจิตวิทยามากขึ้น โดยจะพาคุณไปดูว่าคุณจะต้องเจออะไร แล้วคุณจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างในการพบกับนักจิตวิทยาครั้งแรกของคุณ



แล้วจะมีอะไรบ้างที่คุณควรรู้ก่อนเพื่อที่จะเตรียมตัวไปพบกับนักจิตวิทยาครั้งแรกได้?


1. คุณไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเรียบเรียงการพูดอย่างไร หรือจะเข้ากับนักจิตวิทยาได้ไหม

หากคุณไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไร เตรียมตัวอย่างไร หรือกำลังกังวลว่าคุณจะเข้ากับนักจิตวิทยาที่พบได้หรือไม่ ขอให้คุณรู้สึกสบายใจได้ เพราะว่าคุณไม่จำเป็นต้องกังวลหรือเป็นห่วงว่าจะรู้สึกประหม่าเมื่อพบกับนักจิตวิทยาเป็นครั้งแรก ในทางกลับกันการสร้างพื้นที่ระหว่างกัน การพูดคุยสอบถามกับคุณเป็นหน้าที่ของนักจิตวิทยา


ปล่อยให้หน้าที่นี้เป็นหน้าที่ของนักจิตวิทยาเอง ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเรียบเรียงเรื่องราวต่างๆ เหมือนตอนฝึกซ้อมพูดหน้าชั้นเรียนก็ได้


2. อย่ากลัวว่าคุณจะพูดในสิ่งที่กระเทือนใจหรือสร้างความเดือนร้อนให้กับนักจิตวิทยา

นักจิตวิทยาได้รับการฝึกฝนมาเพื่อให้สามารถรับฟังคุณ และมีการดูแลความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้นนักจิตวิทยายังสามารถขอความช่วยเหลือจากกลุ่มของพวกเขาได้หากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ และนี่เองก็เป็นสิ่งที่ทำให้นักจิตวิทยารู้ว่าพวกเขาควรสามารถแนะนำนักจิตวิทยาคนอื่นให้คุณรู้จักได้ถ้าหากเรื่องที่ปรึกษานั้นอยู่นอกเหนือความเชี่ยวชาญของพวกเขา


ดังนั้นอย่ากลัวและกังวลว่าเรื่องที่คุณเล่าจะไปกระทบกระเทือนจิตใจของนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาถูกฝึกฝนมาให้สามารถดูแลตัวเองจากการรับฟังเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เชื่อได้เลยว่าหลังจากการพบกับนักจิตวิทยาครั้งแรกไปแล้วคุณจะค่อยๆ คุ้นเคยมากขึ้นและเชื่อมั่นมากขึ้นว่าคุณสามารถพูดอะไรก็ได้



3. คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกอายกับสิ่งที่อยากจะเล่า แม้ว่าจะพบกันครั้งแรก

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจมีความรู้สึกเขินอายในการเล่าเรื่องบางเรื่องให้กับคนอื่น แต่คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกเขินอายเมื่ออยากพูดถึงเรื่องต่างๆ หรือเมื่อมีความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางเพศ ประสบการณ์ ความรู้สึกเคียดแค้น ความรู้สึกผิด ความฝัน หรือเรื่องที่คล้ายนิยายแฟนตาซีต่างๆ เพราะนักจิตวิทยามักจะเคยได้รับฟังเรื่องเหล่านี้เกือบจะทั้งหมด นอกจากนั้นหากคุณกำลังอายที่จะพูดเรื่องอะไรออกไปในการพบกับนักจิตวิทยาครั้งแรกของคุณและคุณไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร คุณสามารถบอกตามตัวอย่างเหล่านี้ก็ได้

  • มีบางอย่างที่ผมกำลังอยากจะบอกแต่รู้สึกอายมากที่จะพูดออกไป...

  • หนูมีความกังวลบางอย่างแต่ไม่กล้าพูด...

  • มีเรื่องบางเรื่องที่เล่าแต่ไม่รู้ว่าควรจะพูดออกไปดีไหม...

การบอกให้พวกเราได้รู้จะช่วยทำให้เราเข้าใจคุณได้ดีขึ้น และนอกจากนั้นยังช่วยทำให้เราสามารถเข้าไปสำรวจเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นด้วย แต่หากคุณยังไม่อยากจะพูดมันออกมาตอนนั้นก็เป็นสิ่งที่โอเคเพราะว่ามันอาจต้องการพื้นที่และใช้เวลาก่อนที่จะพูดเรื่องบางเรื่องออกไป


4. คุณอาจพบกับอารมณ์ที่สะเทือนใจบ้าง ในการพบกับนักจิตวิทยาครั้งแรก

คุณสามารถเล่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงไปตรงมา และนั่นทำให้เกิดความรู้สึกท่วมท้นขึ้นมาตั้งแต่การพบกับนักจิตวิทยาในครั้งแรก เพราะที่นี่มีพื้นที่เปิดรับสภาวะทางอารมณ์ที่คุณอาจชอบ หรือสภาวะอารมณ์ที่คุณเกลียดและไม่อยากอยู่ร่วมกับมัน เป็นเรื่องปกติที่คุณรู้สึกท่วมท้นจนร้องไห้ออกมาตั้งแต่ครั้งแรก แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่แทบจะไม่เคยร้องไห้ออกมาเลย



5. การพบกับนักจิตวิทยาครั้งแรกเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่คุณสามารถซื่อตรงต่อตัวเองได้

ในการพบกับนักจิตวิทยาเป็นครั้งแรก คุณควรจะซื่อสัตย์กับนักจิตวิทยาและซื่อตรงต่อความรู้สึกของตัวเองให้มากที่สุด เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่คุณต้องใช้ทรัพยากรทั้งเวลา หรือจ่ายเงินเพื่อเข้าพบนักจิตวิทยา การโกหกอาจทำให้การพบกันแต่ละครั้งไม่ได้ช่วยเหลือคุณอย่างมีประสิทธิภาพ


นักจิตวิทยาสามารถช่วยเหลือคุณได้จากสิ่งที่พวกเขารับรู้จากคุณ หากคุณไม่เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาการช่วยเหลือเหล่านั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และคุณอาจพลาดอะไรบางอย่างไปถ้าคุณไม่ได้ซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่พบกับนักจิตวิทยา


6. ถ้าหากมีอะไรที่คุณไม่เห็นด้วย... คุณสามารถบอกนักจิตวิทยาได้

หากมีอะไรที่คุณรู้สึกไม่เห็นด้วย คุณสามารถพูดออกไปได้และคุณควรที่จะพูดออกไป เพราะการพบกับนักจิตวิทยาเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่คุณสามารถพูดได้ทุกสิ่ง ตัวอย่างเช่น คุณสามารถบอกไปตรงๆ ได้เลยว่า

  • คุณไม่เข้าใจอะไรบางอย่างในสิ่งที่เขาได้อธิบาย

  • คุณไม่เห็นด้วยกับอะไรบางอย่างที่นักจิตวิทยาพูด

  • คุณกลัวที่จะได้ยินบางสิ่งจากนักจิตวิทยา

  • รู้สึกไม่อยากจดบันทึก ตามที่นักจิตวิทยาบอกเพราะเกลียดการนั่งนึกเรื่อง

การบอกสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงจะช่วยให้คุณมีความมั่นใจได้มากขึ้นและหนีจากตัวเองน้อยลง แต่ยังช่วยนักจิตวิทยาให้เข้าใจคุณมากขึ้น และทำให้การพบกันมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย



7. ถ้ามีอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ ให้บอกพวกเรานักจิตวิทยาด้วย

นักจิตวิทยาจะไม่โกรธหรือรู้สึกแย่กับคุณ ถ้าหากคุณบอกพวกเขาว่าคุณรู้สึกไม่พอใจเรื่องอะไรระหว่างที่พบกัน เพราะการพบกับนักจิตวิทยาเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยมีพื้นฐานในฐานะของนักจิตวิทยาและผู้รับบริการ หากพวกเขาไม่รับรู้ว่าคุณรู้สึกไม่พอใจ รำคาญใจอะไรระหว่างการพูดคุย นักจิตวิทยาจะไม่สามารถดูแลปัญหาเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถบอกไปตรงๆ ว่า

  • คุณรู้สึกกลัวว่าสิ่งที่พูดไปจะมีคนอื่นได้ยินด้วย

  • คุณรู้สึกราวกับว่านักจิตวิทยาเหมือนมีท่าทีไม่พอใจคุณเมื่อคุณพูดถึงเรื่องนี้

  • คุณรู้สึกว่าคุณได้รับการดูแลที่ไม่ใช่แนวทางในการดูแลปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น

คุณไม่จำเป็นต้องรอให้พบกับนักจิตวิทยาเป็นครั้งที่สอง หรือเมื่อเริ่มคุ้นเคยกันมากขึ้นจึงจะบอกสิ่งเหล่านี้ออกไป เพราะการบอกว่าคุณไม่สบายใจอะไรตั้งแต่การพบกันในครั้งแรกจะช่วยทำให้คุณกับนักจิตวิทยาสามารถเข้าใจกันได้มากขึ้น และนักจิตวิทยาเองก็จะสามารถดูแลคุณได้ดีขึ้น


8. ไม่จำเป็นที่คุณต้องมีปัญหาชีวิตหนักหน่วงในการมาพบกับนักจิตวิทยา

คุณไม่จำเป็นต้องมีประเด็นอะไรที่ดูเหมือนเป็นปัญหาใหญ่หรือหนักหน่วงกับชีวิตตั้งแต่พบกับนักจิตวิทยาครั้งแรก หากคุณกำลังสับสนหรือรู้สึกได้จากสัญชาตญาณว่าคุณอยากจะพบกับนักจิตวิทยาดู เพราะบางครั้งสมองของมนุษย์อาจพยายามหลีกหนีปัญหายากๆ บางอย่างโดยการไม่พยายามไปนึกถึงมัน หรือไม่ทำให้มันปรากฏขึ้นมา จนกว่าจะเริ่มมีอะไรบางอย่างไรเรียกร้องมันขึ้น


นอกจากนี้ในการพบกันครั้งแรก บางคนก็อาจไม่ได้พูดถึงประเด็นที่มีความกังวลจริงๆ เพราะเรามักจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดด้วยการไม่พูดถึงมันในการพบนักจิตวิทยาในครั้งแรกๆ แต่หลังจากที่ได้พูดคุยกันและทำความรู้จักกันมากขึ้นในหัวข้อเปิดที่มีหลายๆ เรื่องเกิดขึ้นกับชีวิตของคุณ คุณอาจค้นพบกับบางเรื่องที่คุณอยากจะพูดออกมา หรือรู้สึกอยู่ข้างในก็ได้



หากคุณตัดสินใจว่าจะไปพบนักจิตวิทยาแล้ว แสดงว่าตัวคุณกำลังค่อยๆ ออกจาก comfort zone ของตัวเองและมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น สำหรับคนที่ยังไม่มีนักจิตวิทยาที่รู้จักคุณสามารถพิจารณาจากหลักเกณฑ์ในการเลือกนักจิตวิทยาเพื่อให้คุณได้พบกับนักจิตวิทยาที่เหมาะสมสำหรับคุณมากที่สุด


Related topics

แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

 

Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้

Facebook group Banner.jpg
bottom of page