Highlights
Extraverted intuition (Ne) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล (perceiving function) ที่จะหาความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของ ผู้คน และเหตุการณ์ และค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ มีลักษณะออกสู่ข้างนอก (extraverted function)
บุคลิกภาพที่มี Extraverted intuition (Ne) เป็นฟังก์ชั่นหลัก (dominant function) ได้แก่ ENTP (นักโต้วาที) และ ENFP (ผู้ชนะเลิศ)
Extraverted intuition (Ne) เป็นหนึ่งใน cognitive function หรือกระบวนการทำงานภายในของจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ข้อมูลและมีทิศทางออกไปข้างนอก ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาของ Carl Jung และได้รับการพัฒนาจนมาเป็น MBTI หรือ บุคลิกภาพทั้ง 16 แบบที่จะบ่งบอกกระบวนการทำงานของแต่ละบุคลิกภาพ ส่งผลให้แต่ละคนมีการแสดงออก วิธีการคิด ตัดสินใจ หรือรับรู้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป
การเข้าใจ cognitive function หรือกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นภายในของจิตใจนี้เองที่จะช่วยทำให้เราเข้าใจบุคลิกภาพทั้ง 16 แบบในเชิงลึก โดยในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments จะช่วยทำให้คุณการเข้าใจกระบวนการทำงานของ cognitive function รู้จักความแตกต่างของคนที่อยู่ในไทป์เดียวกันเอง ปัญหาที่มักจะพบ ลักษณะวิธีการที่เรารับมือกับความเครียด และการพัฒนา cognitive function เพื่อให้มีชีวิตที่มีความสุขและสมดุลได้
เนื้อหาในบทความ
Extraverted Intuition (Ne) คืออะไร?
Extraverted intuition (Ne) คือ ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล (perceiving function) โดยมักจะหาความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของ ผู้คน และเหตุการณ์ และต้องการระดมความคิด สถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ มีลักษณะออกสู่ข้างนอก (extraverted function)
บุคลิกภาพที่มี Extraverted intuition (Ne) เป็นฟังก์ชั่นหลัก (dominant function) มักจะมีกระบวนการทำงานภายในส่วนใหญ่เกิดขึ้นด้วยฟังก์ชั่นนี้ และทำให้ cognitive function นี้เป็นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพ ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Ne เป็น cognitive function แรกได้แก่
บุคลิกภาพที่มี Extraverted intuition (Ne) เป็นฟังก์ชั่นผู้ช่วย (auxiliary function) จะมีการใช้งานฟังก์ชั่นนี้ในชีวิตรองลงมา แม้จะไม่เท่ากับฟังก์ชั่นหลัก แต่ cognitive function นี้ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญในบุคลิกภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งบุคลิกภาพที่มี Ne เป็น cognitive function ลำดับสองได้แก่
กระบวนการทำงานของฟังก์ชั่น Extraverted Intuition (Ne) ใน MBTI
Extraverted intuition (Ne) เป็นฟังก์ชั่นที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล รับรู้ข้อมูล โดยจะเป็นการรับรู้ที่มีลักษณะเด่นคือ
มองหาความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น
รวบรวมข้อมูลในรูปแบบของกลุ่มข้อมูล ความเชื่อมโยง ที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาด้วยตัวมันเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่น
มองหาความเข้าใจในแบบของภาพรวม
ค้นหาตัวเลือกใหม่ๆ ให้กับสถานการณ์ที่กำลังพบ
วิเคราะห์โลกภายนอกโดยให้ความสำคัญความเป็นไปได้ในสิ่งที่จับต้องได้
Cognitive function ชนิด extraverted intuition (Ne) มักจะถูกขับเคลื่อนด้วยการค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งตอนที่ใช้ฟังก์ชั่นนี้อาจนำความเป็นไปได้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตมารวมกันก็ได้
สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานของ cognitive function แบบ extraverted intuition (Ne) คือการรับรู้สิ่งต่างๆ ผ่านความเชื่อมโยง การหาความเป็นไปใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้คนที่มี extraverted intuition (Ne) เป็นฟังก์ชั่นลำดับแรกหรือลำดับที่สองในบุคลิกภาพมักจะ
ค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ อยู่เสมอ
มีความคิด ไอเดียได้มากตามข้อมูล องค์ความรู้ที่ได้รับ
เก่งในการสร้างสิ่งใหม่ๆ จากวิธีการเดิมๆ
มีความคิดมากมายในหัวซึ่งพูดออกมาได้ไม่หมด
ชอบเรียนรู้อะไรแบบกระโดดไปมา ไม่ได้เรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน
เชื่อมโยงสถานการณ์ในปัจจุบันเข้ากับสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ในอนาคต
มองสิ่งต่างๆ เป็นภาพรวม
สร้างโอกาสจากการเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ สามารถเป็นอะไรได้บ้าง
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Extraverted Intuition (Ne)
การใช้งานฟังก์ชั่น extraverted intuition (Ne) จะเกิดขึ้นในตอนที่รับรู้ข้อมูลเพราะ Ne เป็น cognitive function ที่ทำหน้าที่รับรู้ข้อมูล (perceiving function) โดยตัวอย่างของการใช้งาน extraverted intuition (Ne) คือ
มองว่าชีวิตเป็นเหมือนการเชื่อมโยงของความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ตอนที่ฉันทำผิดพลาด ฉันมักจะบอกกับตัวเองว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่ ฉันได้ลงมือทำอย่างดีที่สุดแล้ว บางทีความผิดพลาดนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ฉันได้เรียนรู้อะไรดีๆ มากกว่าเดิมก็ได้
ตอนที่ได้ระดมความคิด ฉันรู้สึกสนุกสนานกับมันมาก ฉันมักจะมีความคิดโลดเล่นเข้ามา โดยมองจากสิ่งที่เรามีอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่สามารถเป็นไปได้ในอนาคต
ฉันคิดถึงเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นว่าวันที่ลูกสาวฉันกำลังโตจนเข้าโรงเรียนเป็นอย่างไร เขาอาจจะทำอาชีพอะไร โตไปมีครอบครัวแบบไหนตอนที่ฉันอายุมากแล้ว
ตอนที่ได้รับข้อมูลใหม่ๆ ฉันมีความคิดว่าฉันจะใช้สิ่งเหล่านี้ไปทำอะไรได้บ้างอยู่เสมอ
เมื่อต้องทำงาน ฉันมักจะมองไปยังภาพรวมของงานก่อนว่าจะทำงานนี้ไปเพื่ออะไร แล้วหลังจากนั้นฉันจึงค้นหาวิธีในการทำงานใหม่ๆ เพื่อทำงานนั้นออกมา
ปัญหาที่เกิดจากการมี Cognitive Function แบบ Ne ที่ไม่พัฒนา
Cognitive function ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนมีและสามารถใช้งานได้ดีทุกคน และแม้บุคลิกภาพที่มี extraverted intuition (Ne) เป็นฟังก์ชั่นหลัก ก็อาจมีปัญหาจากการใช้ cognitive function ในชีวิต ซึ่งอาจทำให้คนเหล่านั้น
เบื่อง่าย มองหาสิ่งใหม่ๆ ที่กระตุ้นความคิดเสมอ เพราะลึกๆ แล้วไม่สามารถจดจ่ออะไรนานๆ ได้
ไม่สามารถทำตามตารางเวลา ให้คำสัญญาระยะยาว หรือทำงานจนเสร็จได้
คิดว่าตัวเองเข้าใจสิ่งต่างๆ มากกว่าคนอื่น ลึกซึ้งกว่าคนอื่น
มักหาข้ออ้างให้ตนเองได้อยู่เสมอ โดยเปลี่ยนแปลงข้ออ้างเป็นกรณีๆ ไป
เริ่มต้นทำอะไรหลายอย่างได้ดี แต่ไม่มีอะไรสำเร็จเลยสักอย่าง
ตัดสินใจไม่ได้ ทำงานไม่เสร็จตามกำหนด จนสร้างความเดือนร้อนให้กับเพื่อนร่วมงาน
หากคุณยังไม่ทราบบุคลิกภาพของตัวเองหรือยังเคยมีประสบการณ์ตรงในการขึ้น panel เพื่อเห็นความแตกต่างของความถนัดแต่ละแบบ คุณสามารถเข้าร่วมเวิร์คช็อป MBTI: 16 Personality types เพื่อให้คุณได้เข้าใจตัวเอง พัฒนาจุดแข็งจุดอ่อนตามบุคลิกภาพ และรู้วิธีการอยู่ร่วมกับคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันด้วยกระบวนการ panel ได้
สำหรับคนที่ทราบบุคลิกภาพของตัวเองและเห็นความแตกต่างของความถนัดแล้ว คุณสามารถเรียนรู้ cognitive function และลักษณะของไทป์ตัวเองในเชิงลึกได้ในเวิร์คช็อป MBTI: Cognitive Functions and Developments เพื่อให้ตัวเองก้าวข้ามกับดักของไทป์ เข้าใจแนวทางในการพัฒนา cognitive function ของตัวเอง และมีชีวิตที่ดีขึ้นได้
Related Topics
แหล่งอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม
Drenth, A.J. 2014. My True Type. Inquire Books.
Hunziker, Leona Hass and Mark. 2014. Building blocks of personality type.
Myers, Isabel Briggs. n.d. Introduction to Myers-Briggs Type. The Myers-Briggs Company Pty Ltd.
Tieger, Paul D. Tieger and Barbara Barron. 1999. The Art of Speed Reading People. New York: Little, Brown and Company.
Urbinner เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้เติบโตจากการเรียนรู้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยทีมนักจัดกระบวนการจะพาคุณไปเรียนรู้ทักษะที่นำไปสู่การเข้าใจตัวเอง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และการตระหนักรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับตัวเอง องค์กร และชุมชนของเราได้
Comments