Performance Coaching
หลักสูตรอบรม โค้ชเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

เกี่ยวกับหลักสูตร
โค้ชชิ่ง (Coaching) เป็นศาสตร์ที่ถูกใช้เพื่อพัฒนาการการทำงานภายในองค์กรมาเป็นระยะเวลานานที่จะช่วยทำให้พนักงานได้เห็นแนวทางการพัฒนาการทำงาน ด้วยการตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง
หลักสูตร โค้ชเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Coaching) เป็นหลักสูตรอบรมที่ช่วยเสริมสร้างทักษะกระบวนการโค้ช แนวคิดที่สำคัญกับการโค้ช และได้ทดลองฝึกฝนกระบวนการโค้ช เพื่อให้สามารถนำทักษะการโค้ชไปใช้ในการปฏิบัติงานได้
ปัญหาที่พบในองค์กร
-
พนักงานไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ เมื่อมีปัญหาหรือมีคำถามจำเป็นที่จะต้องสอบถามหัวหน้าตลอดเวลา ไม่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองหรือพยายามหาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
-
ทีมงานด่าทอ ตำหนิกัน และหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไม่มีวัฒนธรรมที่ทำให้พนักงานเรียนรู้จากความผิดพลาด
-
พนักงานอยู่กับที่ ไม่เรียนรู้ พัฒนาตนเอง ทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านการประเมินแต่ไม่ได้ดึงศักยภาพออกมาเต็มที่ หมดไฟไม่อยากเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม คิดว่าตัวเองมีประสบการณ์มากเพียงพอ
-
องค์กรขาดกระบวนการสร้างการเรียนรู้ ไม่มีกระบวนการในการให้พนักงานคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ใช้กระบวนการออกคำสั่งแบบ bottom down บรรยากาศไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
เป้าหมายของหลักสูตร
-
กระบวนการพัฒนาการปฏิบัติงานด้วยการโค้ชชิ่ง
-
เรียนรู้การสร้างปฏิสัมพันธ์สำหรับการโค้ช
-
ฝึกฝนทักษะการโค้ชชิ่ง
-
เข้าใจทักษะการตั้งคำถามผ่านกระบวนการโค้ช
ระยะเวลา
-
1-3 วัน
-
หลักสูตรต่อเนื่อง 5 เดือน
จำนวนผู้เข้าร่วม
-
ขนาดเล็ก ไม่เกิน 25 คน
-
ขนาดกลาง ไม่เกิน 50 คน
เนื้อหาในหลักสูตร
รู้จักการโค้ช (coach)
-
เข้าใจว่าการโค้ชคืออะไร?
-
เห็นความแตกต่างระหว่างการโค้ช (coaching) กับการเป็นพี่เลี้ยง (mentor)
-
มีประสบการณ์ตรงกับการโค้ชแบบกลุ่ม
กระบวนการโค้ชและโมเดลสำหรับการโค้ช
รู้จักกระบวนการที่สำคัญในการโค้ชเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนของการโค้ช แม้ว่าการโค้ชจะมีความจำเพาะกับผู้ที่ถูกโค้ช แต่กระบวนการโค้ชก็ยังคงเป็นหลักเดิมอยู่เสมอ
การสร้างความสัมพันธ์สำหรับการโค้ช (coaching relationship)
สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการโค้ชคือการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีก่อนกระบวนการโค้ช เพื่อให้การโค้ชเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ที่ได้รับการโค้ช
-
การสร้างความสัมพันธ์สำหรับโค้ชชิ่ง (rapport)
-
หลักความคิดที่เอื้ออำนวยต่อการโค้ช (coaching mindset)
-
การซื่อตรงต่อความรู้สึกของตัวเองในกระบวนการโค้ช
การฟังเชิงรุก (active listening)
สิ่งที่เป็นอาวุธสำคัญของโค้ชคือกระบวนการฟัง ซึ่งการฟังสำหรับโค้ชนั้นจะเป็นกระบวนการฟังที่ช่วยเอื้ออำนวยต่อผู้ที่กำลังได้รับการโค้ช เพราะเพียงการฟังที่มีคุณภาพก็สามารถช่วยทำให้ผู้ที่ได้รับการโค้ชได้ประโยชน์มากมายมหาศาลแล้ว
หลักสำคัญในการโค้ชแบบสากลและการโค้ชเชิงให้คำปรึกษา
รู้จักกระบวนการโค้ชตามแบบมาตรฐานสากลและการผสมผสานการโค้ชเข้ากับกระบวนการอื่นเพื่อให้กระบวนการโค้ชมีประสิทธิภาพสูงและเป็นไปตามมาตรฐาน
การตั้งคำถามแบบโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน
-
เข้าใจแนวทางในการตั้งคำถามในการโค้ช
-
ทดลองการตั้งคำถามในการโค้ช
-
ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาศักยภาพ
ประโยชน์ที่จะได้รับจากหลักสูตร
-
พนักงานได้เรียนรู้ทักษะการโค้ชและการพัฒนาการปฏิบัติงานในองค์กร
-
เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร
-
ช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
-
สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายองค์กร
-
เพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้กับพนักงาน
Testimonials

เราต้องขอบคุณกิจกรรม Urbinner ที่ทำให้สะท้อนตัวเองด้วยกิจกรรมวาดกราฟการเติมเต็มชีวิตของเราเองอย่างใจเย็น
เราถึงได้รู้ว่า "ความหมายในชีวิต" เป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่ามันไม่เต็มมาโดยตลอด
เนส ชนนิกานต์ วิบูลย์อรรถกร
CEO & Founder, Getfries