top of page
Deep Listening
หลักสูตรอบรม การฟังอย่างลึกซึ้ง

เกี่ยวกับหลักสูตร

การฟังอย่างลึกซึ้ง คือ ทักษะการฟังที่จะช่วยทำให้เราฟังคนข้างหน้าอย่างเต็มที่ มีความเป็นกลาง เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ข้างหน้า จนถึงขั้นเยียวยาและช่วยเหลือคนที่กำลังพูดกับเราได้

หลักสูตรการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ช่วยทำให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะการฟัง เพื่อช่วยให้บุคลากรในองค์กรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง เท่าทันความเปราะบางที่เกิดขึ้นภายใน และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน

ปัญหาที่พบในองค์กร

  • ทีมงานไม่เปิดใจรับฟังกัน ไม่ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน

  • เพื่อนร่วมงานรู้สึกห่างเหิน เหมือนตัวใครตัวมัน ไม่มีพื้นที่สำหรับพูดคุยและเข้าใจกัน

  • ที่ประชุมเงียบ ไม่ค่อยสื่อสารและเสนอความคิดเห็น บุคลากรมีกำแพงระหว่างกัน แต่มักจะไปซุบซิบกันภายหลัง

  • มีบุคลากรเก่งแต่ทำงานด้วยกันไม่ลงตัว ไม่ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานคนอื่น

เป้าหมายของหลักสูตร

  • เสริมสร้างการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน

  • เข้าใจความแตกต่างของพฤติกรรม การแสดงออกซึ่งเกิดจากบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน

  • พัฒนาทักษะระหว่างบุคคล (interpersonal skills) และทักษะการสื่อสาร (communication skill)

  • เรียนรู้ความต้องการและวิธีการทำงานของหัวหน้า ลูกน้อง และเพื่อนร่วมงานตามสไตล์การทำงาน

ระยะเวลา

  • ระยะสั้น 3 ชั่วโมง

  • มาตรฐาน 1-2 วัน

  • หลักสูตรต่อเนื่อง 6 เดือน

จำนวนผู้เข้าร่วม

  • ขนาดเล็ก ไม่เกิน 25 คน

  • ขนาดกลาง ไม่เกิน 50 คน

เนื้อหาในหลักสูตร

เข้าใจกระบวนการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening)

เข้าใจกระบวนการฟังอย่างลึกซึ้งผ่านการลงมือปฏิบัติ ทดลองมีประสบการณ์ตรงกับการฟังอย่างลึกซึ้ง 

ท่าทีและภาษาในการรับฟัง

เรียนรู้ท่าทีที่เปิดรับ (rapport) รู้วิธีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้คู่สนทนามีความรู้สึกเชิงบวกระหว่างการพูดคุย

ปัญญา 3 ฐานกับการฟังอย่างลึกซึ้ง

เข้าใจปัญญา 3 ฐานในมิติของการฟังซึ่งแบ่งออกเป็น

  • ฐานหัว

  • ฐานใจ

  • ฐานกาย

 

คำถามเพื่อสะท้อนระหว่างการฟัง 

เข้าใจคำถามที่ควรใช้ในการโต้ตอบระหว่างการฟังอย่างลึกซึ้ง และเรียนรู้เกี่ยวกับชุดคำถามที่สามารถถามเพื่อให้ผู้พูดได้เรียบเรียงความคิดของตัวเองได้ดีขึ้น สามารถถ่ายทอดออกมาได้มากขึ้น และเข้าใจตัวเองมากขึ้น

ร่องการฟังและกับดักที่ทำลายจังหวะการพูดของคู่สนทนา

ตระหนักรู้เกี่ยวกับท่าทีที่มักจะทำให้คู่สนทนารู้สึกไม่อยากพูดต่อ เสียหน้า เสียสมาธิ หรือท่าทีที่ไม่ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันขณะที่เป็นผู้รับฟัง

4 ระดับของการฟัง

เข้าใจการฟัง 4 ระดับเพื่อช่วยสร้างการตระหนักรู้ภายใน (self-awareness) ระหว่างการรับฟัง รู้จักทิศทางในการฟัง และเข้าใจตัวเองขณะที่เป็นผู้รับฟัง

ในหลักสูตรการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) การได้ฝึกอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญ หากต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีสามารถเลือกหลักสูตรต่อเนื่องที่จะช่วยทำให้คนในองค์กรได้มีเวลาใช้การฟังอย่างลึกซึ้งร่วมกันมากยิ่งขึ้น เพื่อเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

สิ่งที่จะได้รับจากหลักสูตร

  • เรียนรู้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีผ่านการรับฟัง

  • สร้างบรรยากาศการทำงาน การประชุมที่เป็นมิตร เอื้อเฟื้อต่อการเรียนรู้ และเปิดรับต่อความคิดสร้างสรรค์

  • รู้วิธีการดูแลเมื่อเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าอารมณ์เสีย ระเบิดอารมณ์ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาระหว่างการทำงาน การสื่อสารที่ผิดพลาด หรือคุณภาพ

  • ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงาน (psychological safety)

  • มีทักษะการรับฟังในการดูแลเพื่อนร่วมงาน บุคคลภายนอก หรือลูกค้า

ติดต่อปรึกษา/สอบถามเพิ่มเติม

  • LINE_APP
  • iconfinder_Facebook_Messenger_1298720
bottom of page