top of page
Conflict Management
กระบวนการ คลี่คลายความขัดแย้ง

เกี่ยวกับหลักสูตร

การรับมือกับความขัดแย้งจำเป็นที่จะต้องอาศัยเครื่องมือ กระบวนการ และความเข้าใจระหว่างกัน แม้ว่าหลายคนมักจะมองความขัดแย้งในเชิงลบ แท้จริงแล้วหากเราสามารถตระหนักถึงความขัดแย้งเล็กๆ ที่เกิดขึ้น เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงมันให้กลายเป็นความเข้าใจซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือได้

ในขณะเดียวกัน การปล่อยให้ความขัดแย้งเล็กๆ เหล่านี้ดำเนินไปก็สร้างความเสี่ยงที่จะทำให้มันเติบโตจนกลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถดูแลได้ ดังนั้นเริ่มตระหนักได้ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ทางที่ดีที่สุดคือการสร้างความเข้าใจและแก้ไขมันตั้งแต่ในระดับเล็กๆ

ปัญหาที่พบในองค์กร

  • มีความไม่ลงรอยกันในการทำงานร่วมกัน บุคลากรมีวิธีการทำงาน ความคิด หรือมุมมองที่แตกต่างกัน ไม่เข้าใจกัน มีความยากลำบากในการทำงานร่วมกันอันเนื่องมาจากปัญหาบุคคลหรือกระบวนการทำงาน เห็นสัญญาณที่เริ่มบ่งชี้ว่ากำลังจะเกิดรอยร้าวภายในองค์กร

  • เกิดความขัดแย้งขึ้นในองค์กร บุคลากรมีการแบ่งกลุ่ม โจมตีคนที่แตกต่างด้วยคำพูด การเสียดสี และความไม่เข้าใจกันยอ่างเปิดเผย ไม่ยอมรับความเห็นจากฝ่ายตรงข้าม พร้อมที่จะปะทะ ไม่เห็นมุมมองที่แต่ละฝ่ายมีแตกต่างกันและปัญหาที่แต่ละฝ่ายต้องพบ

  • มีปัญหาในการทำงานระหว่างฝ่ายหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกัน มีปัญหากับแต่ละภาคส่วนและ stakeholders ต้องการหาคนกลางเพื่อช่วยในการดำเนินการคลี่คลายความขัดแย้ง

เป้าหมายของหลักสูตร

  • คลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

  • ทำความเข้าใจรากของปัญหา

  • สร้างความเข้าใจระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง

  • หาแนวทางและทางเลือกอื่นในการทำงานร่วมกันหรือตัดสินใจ

ระยะเวลา

  • มาตรฐาน 1-2 วัน

จำนวนผู้เข้าร่วม

  • ขนาดเล็กไม่เกิน 15 คน

  • ขนาดกลางไม่เกิน 25 คน

  • ขนาดใหญ่ไม่เกิน 50 คน

เนื้อหาในหลักสูตร

การดูแลและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรอาจมีพบได้ใน 3 ระดับ ดังนั้นกระบวนการที่ใช้ในการดูแลความขัดแย้งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามระดับของความขัดแย้ง


ความขัดแย้งระดับแรก

เป็นความขัดแย้งที่ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ ความรำคาญ หรือการสูญเสียบรรยากาศการทำงานที่ดีในการทำงานและอยู่ร่วมกัน ในขั้นนี้อาจสังเกตได้ยากและไม่ยอมรับว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น เมื่ออยู่ในความขัดแย้งระดับนี้กระบวนการที่เหมาะสมคือ


  • สร้างความตระหนักรู้ในความแตกต่างระหว่างบุคคล

  • เห็นมุมมองของคนที่อยู๋ในบทบาทที่แตกต่างกัน

  • การสื่อสารที่ช่วยลดความขัดแย้ง

  • องค์ความรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพ

  • กระบวนการ facilitation ที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน

  • การสร้างข้อตกลงร่วมกันในประเด็นปัญหาและความขัดแย้ง


ซึ่งหากไม่ได้ให้ความสนใจอาจทำให้เติบโตไปเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงและแก้ปัญหายากยิ่งขึ้น


ความขัดแย้งระดับที่สอง

เป็นความขัดแย้งที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพร้อมที่จะปะทะ โจมตี ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีทางตรงหรือทางอ้อม ในความขัดแย้งระดับนี้สามารถตระหนักได้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอย่างชัดเจน มีฝ่ายที่ต้องการบางสิ่งและพร้อมที่จะปะทะ ทั้งนี้ทั้งนั้นต่างฝ่ายยังมีความหวังและต้องการที่จะทำงานร่วมกัน หรืออยู่ร่วมกัน เมื่ออยู่ในความขัดแย้งระดับนี้กระบวนการที่เหมาะสมคือ


  • การคลี่คลายประเด็นปัญหา

  • กระบวนการ facilitation ที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน

  • การสร้างข้อตกลงร่วมกันในประเด็นปัญหาและความขัดแย้ง


  • สร้างความตระหนักรู้ในความแตกต่างระหว่างบุคคล

  • เห็นมุมมองของคนที่อยู๋ในบทบาทที่แตกต่างกัน

  • การสื่อสารที่ช่วยลดความขัดแย้ง


แม้ว่าหัวข้อการเรียนรู้จะมีลักษณะเดียวกันกับความขัดแย้งระดับแรก แต่ระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการอาจนานกว่า เพราะต่างฝ่ายมักจะมีเรื่องราวและต้องการระบายปัญหาที่พบ


ความขัดแย้งระดับที่สาม

ในความขัดแย้งระดับนี้ ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องการทำงานร่วมกัน ต้องการเกี่ยวข้องกันให้น้อยที่สุดโดยที่ได้ตอบสนองความต้องการของฝ่ายตนเองมากที่สุด หากความขัดแย้งดำเนินมาถึงระยะนี้ สิ่งที่สำคัญ ในความขัดแย้งระดับนี้อาจมุ่งเน้นไปที่


  • การคลี่คลายประเด็นปัญหา

  • กระบวนการ facilitation ที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน

  • การสร้างข้อตกลงร่วมกันในประเด็นปัญหาและความขัดแย้ง


ซึ่งจะเน้นไปที่กระบวนการหาทางออกร่วมกันมากกว่าการสร้างความเข้าใจ ในระดับนี้ต่างฝ่ายมักจะไม่ค่อยพร้อมในการทำความเข้าใจกัน และมักจะทำงานให้จบเพื่อเป้าหมายหรือบอกลากันให้รวดเร็วและมีปัญหาน้อยที่สุด

สิ่งที่จะได้รับจากหลักสูตร

  • สร้างความเข้าใจระหว่างฝ่าย เห็นมุมมองที่แตกต่างกัน

  • เรียนรู้เครื่องมือเพื่อช่วยลดความขัดแย้ง

  • ได้รับแนวทางในการทำงานร่วมกันหรือหาทางออกที่ยอมรับได้มากที่สุดระหว่างฝ่ายต่างๆ

  • ลดแรงปะทะที่เกิดขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ติดต่อปรึกษา/สอบถามเพิ่มเติม

  • LINE_APP
  • iconfinder_Facebook_Messenger_1298720
bottom of page